กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

ก่อนอื่นทำความเข้าใจคำว่า RM ก่อน ในใบสั่งยา ปกติจะมีคำสั่งว่าจะจ่ายยาแบบคุ้นเคยกันก็คือ คำว่า RM ก็ย่อมาจาก Repeat Medication ซึ่งหมายถึง ยาเดิมที่ผู้ป่วยเคยใช้กัน

มักมีคำกล่าวในหมู่คนไข้ว่า เวลาเข้าตรวจ ยังนั่งก้นยังไม่สัมผัสเก้าอี้ดีเลย ก็บอกว่า ยาเดิม และถ้าสังเกตในใบสั่งยา ก็มักจะปรากฎตัวหนังสือ RM

นั่นหมายถึง ยาเดิมนะจ๊ะ กินต่อไป จนกว่าจะเจอกันใหม่ครั้งหน้า

ตรงนี้ผมเห็นใจทั้งสองฝ่าย ฝ่ายการแพทย์ แค่สั่งแบบ RM ก็แทบจะไม่ทันละ เพราะคนไข้เยอะ ส่วนคนไข้ ก็มักจะเกิดความรู้สึกว่า อีหยังว่ะ ตรวจตอนไหนนี่ บอกว่า ตรวจเสร็จละ

ฉะนั้น อย่าได้แปลกใจที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาว่า กัญชากว่าหมื่นขวดที่ส่งไปตามโรงพยาบาลต่างๆ จะมีการใช้เพียงไม่ถึง 100 ขวดด้วยซ้ำ

ซึ่งปัญหานี้ ผมเคยเขียนไว้ตั้งนานแล้วว่า ทำไม และเพราะอะไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร

เพราะยากัญชา กัญชง ยากที่จะเข้าสู่ขั้นตอนและออกมาในทำนอง RM

เพราะสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ไม่ใช่สารที่จะใช้กันแบบตรงไม่ได้ ในทางเภสัชแบบที่พวกผมเรียนมา ยาเคมี ยังท่องจำได้ว่า กินกี่เม็ด กี่เวลา แต่สำหรับกัญชา กัญชง

ไปท่องว่า กี่หยด กี่มิลลิกรัม ต่อวัน ก็แทบจะหลงทางในการใช้ให้เกิดผลแล้ว

ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีทางมีเวลามาทำได้ เพราะงานเยอะอยู่แล้ว

ภาครัฐควรสอนให้ชาวบ้าน เข้าใจ 2 จุด ในการใช้กัญชา กัญชง คือ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีการใช้ ทั้งใช้แบบทั่วไป และใช้แบบมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว และ

การตีกันของยาที่ผู้ป่วยกินอยู่แล้ว กับ ยาจากกัญชา กัญชง

ซึ่งจัดการตรงนี้ หรือ อบรมให้ความรู้ตรงนี้ได้ ให้ลงถึงประชาชน ผมเชื่อว่า ประชาชน จะเรียนรู้ดูแลตัวเองได้

และสำหรับคนที่ถามว่า ถ้าให้ชาวบ้านรู้ขนาดนี้ จะเกิดการใช้ และ ผลเสียมากตามมาได้นะ

แน่นอน อาจเกิดผลเสียได้บ้าง จากอาการข้างเคียง แต่ก็นั่นละ ถ้าเราหัดปั่นจักรยานใหม่ๆ จะไม่ให้ล้ม เข่าถลอก มั้นก็จะเกินความจริงไปบ้าง ฉะนั้น ต้องปล่อยให้ชาวบ้านเรียนรู้ของจริงบ้าง อย่ากลัวเกินเหตุ

จากภาพประกอบ จะเห็นว่า การตอบสนองของสารไฟโตแคนนาบินอยด์ต่อตัวรับ CB1 จะมีการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึง ทั้งประโยชน์ และ ผลข้างเคียง หลังจากผู้ป่วยสัมผัสกับกัญชา หรือ กัญชงแล้ว ในรูปแบบ ทั้ง 3 คลื่น (3 Wave)

ซึ่งคลื่นที่ 3 ขวามือ บน จะเห็นว่า ตัวรับ CB1 จะถูกเก็บเข้ามาในเซลล์ ทำให้ตัวรับน้อยลง ซึ่งกลไกนี้ ผมเคยเขียนไปละ ซึ่งเรียกว่า Internalization ก็คือ การดื้อยา นั่นละ

เมื่อตัวรับน้อยลง การได้สารไฟโตแคนนาบินอยด์เข้าไป ก็จะมีการจับได้น้อยลง เมื่อจับได้น้อยลง ก็หมายถึงว่า โรคที่ต้องการกระตุ้นตัวรับเหล่านี้ที่มาก ก็จะมีผลน้อยลง ได้ประโยชน์น้อยลง

แต่สำหรับโรคที่มีการทำงานของตัวรับนี้มากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็อาจจะสามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้ประโยชน์ได้เช่นกัน

นี่ละ คือ ความละเอียดของการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง ไม่ใช่ หนึ่งหยด แล้วคิดว่า จะได้ผล สบายใจละ ได้ใช้น้ำมันกัญชา ทั้งฝ่ายการแพทย์ และ ฝ่ายคนไข้

ฉะนั้น การใช้กัญชา กัญชง ไม่ควรเป็นแบบในรูปแบบปัจจุบัน ที่ยึดเอาบุคลากรทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลาง แต่ควรยึดเอาประชาชนคนใช้เป็นศูนย์กลาง และหาผู้ช่วย จะช่วยแบบออฟไลน์ หรือ ช่วยแบบออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น ก็ว่ากันไป หรือจะยกบทบาทสำคัญนี้ไปให้กลุ่มแพทย์แผนไทยก็ได้

ไม่งั้น กัญชา กัญชง ทางการแพทย์จะเสียของ และกลายเป็นไฟไหม้ฟาง ส่วนคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆ ก็คือ กลุ่มทุนที่พร้อมนำไปประยุกต์ในสินค้าอื่นๆได้อย่างมหาศาล

กัญชา กัญชง ใช้ให้เป็น แต่ก่อนใช้ก็ต้องมีความจำเป็นต้องมีความรู้ด้วย เพราะกัญชา กัญชงไม่สามารถบอกกันได้เหมือนกินยาพาราเซตามอล ที่ปวดหัว ก็หนึ่งเม็ด แต่กัญชา กัญชง หนึ่งหยด สำหรับบางคน อาจหยดให้เสียของ โดยไม่เกิดอะไรก็ได้

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

CB(1) receptor allosteric modulators display both agonist and signaling pathway specificity. Mol
Pharmacol : 2013 : 83:322–338.

Functionally selective cannabinoid receptor signalling: therapeutic implications and opportunities. Biochem Pharmacol : 2010 : 80:1–12.

Rapid CB1 cannabinoid receptor desensitization defines the time course of ERK1/2 MAP kinase signaling. Neuropharmacology : 2008 : 54:36–44.

Differential b-arrestin2 requirements for constitutive and agonist-induced internalization of the CB1 cannabinoid receptor. Mol Cell Endocrinol : 2013 : 372:116–127.

SHARE NOW

Facebook Comments