Latest Posts

มหาพิกัดตรีผลา

มหาพิกัดตรีผลา

มหาพิกัดตรีผลา

 “มหาพิกัดตรีผลา” พิกัดยาเสริมภูมิคุ้มกัน ปรับธาตุ เหมาะกับช่วงฤดูร้อน
ตรีผลา เป็นอีกหนึ่งตำรับยาสมุนไพรที่ช่วยปรับสมดุลร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากการเกิดโรค
…”ตำรับตรีผลา” ประกอบด้วย สมอพิเภก, สมอไทย, มะขามป้อม ซึ่งตรีผลาเป็นตำรับยาที่ช่วยดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อน แต่ถ้าจะมุ่งเน้นแก้โรคทางเสมหะ เช่น แก้โรคหวัด บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ จะต้องใช้เป็น “ตำรับมหาพิกัดตรีผลา” คือ
– มะขามป้อม 12 ส่วน (ประมาณ 45 กรัม)
– ลูกสมอพิเภก 8 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม)
– ลูกสมอไทย 4 ส่วน (ประมาณ 15 กรัม)
(น้ำหนักสมุนไพรสามารถปรับได้ตามสัดส่วน)
สามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและสมุนไพรแห้ง แต่ควรใช้ให้เป็นประเภทเดียวกัน
วิธีทำ
1. นำสมุนไพรทั้งสามชนิดล้างน้ำให้สะอาด
2. หากเป็นสมุนไพรแห้งให้แช่ในน้ำเปล่า 3 ลิตร ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่หากเป็นสมุนไพรสด ให้เติมน้ำ 3 ลิตร
3. ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใช้เวลาต้ม 30 นาที
4. กรองเอาแต่น้ำ
5. แต่งรสชาติด้วยเกลือ หญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย
ดื่มอุ่น ๆ เช้า และ เย็น ครั้งละ 100 มิลลิลิตร
นอกจากนี้ ควรดูแลตัวเองให้ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญต้องป้องกันตนเองอย่าให้ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการออกไปในชุมชนที่มีผู้คนแออัด หากมีความจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งและควรล้างมือบ่อยๆ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากไวรัส COVID-19 ได้ค่ะ
Cr. ภาพและข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก
การให้ข้อมูลและความรู้อย่างจริงจังของมหาวิทยาลัยของอินเดีย ในเรื่องสรรพคุณและงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร ทำให้ยอดขายสมุนไพร ในแบบอายุรเวทของอินเดีย เติบโตในตลาดอเมริกา โดยเฉลี่ย 20 % – 50 %
จากการวิเคราะห์ของผม สมุนไพรไทยจะมีมูลค่าและคุณค่าในเวทีโลก เป็นที่ยอมรับและเชื่อมันของผู้บริโภค สามารถสู้กับสมุนไพรในอายุรเวทของอินเดียได้ ต้องมีแนวทางดังนี้
1. ความชัดเจนและตรงไปตรงมาของภาครัฐในการสนับสนุน
2. การทำการตลาด และ มีการเล่า Story ในเรื่องอายุรเวท และ สมุนไพร ซึ่งเป็นอะไรที่ฝรั่งชอบ ดังเช่น Story สมุนไพรในเกาหลี จีน ซึ่งทำรายได้มหาศาล ตรงนี้ ประเทศไทย หรือ ผู้ประกอบการต้องทำให้ชัดเจน และ เป็นหนึ่งในจุดขายให้ได้
3. ข้อมูลสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยจากหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัย หรือ กระทรวงสาธารณสุข ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของไทยมาก ไทยชอบฆ่าตัดตอนสมุนไพรไทย ที่เป็นภูมิปัญญาใช้สืบทอดกันมา นับร้อยนับพันปี ทางแก้ คือ หน่วยงานนั้นต้องหาข้อมูลหรือทำวิจัย เพื่อหาทางให้สมุนไพรนั้นๆ มีที่ยืนและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและก่อให้เกิดรายได้ ไม่ใช่ไปสร้างความหวาดกลัว และ ความไม่เชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร
3. ต้องรื้อระบบการตลาดและประชาสัมพันธ์สมุนไพรไทยใหม่หมด ทั้งการตลาดสร้างความเข้าใจให้คนไทยเอง และ การตลาดให้ชาวต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
4. ระบบการผลิตที่สามารถทำให้สมุนไพร เข้าไปในร่างกายได้จริงๆ มีการทดสอบอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เอาสมุนไพร มาบดๆเป็นผง แล้วจับยัดๆใส่แคปซูลในปัจจุบัน แล้วอ้างสรรพคุณไปทั่ว
5. สมุนไพรที่นำมาผลิตต้องมีสารออกฤทธิ์ได้จริง ไม่ใช่แค่ซากสมุนไพร ตรงนี้จะเชื่อมไปถึงตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรูป เป็นต้น ณ ปัจจุบัน พืชที่ปลูกเป็นสมุนไพรไทย ยังพบปัญหาในเรื่องคุณภาพและปริมาณสารออกฤทธิ์อย่างมาก ประมาณใช้ขมิ้นก็จริง แต่สารเคอคิวมิน ที่เป็นตัวออกฤทธิ์จริงๆในขมิ้นนั้น กลับน้อยนิด
6. สนับสนุนภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้เข้าถึงข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงการผลิต มากขึ้น เพื่อนำไปสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง
7. มีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งในด้านการลงทุนผลิต วิจัย ให้สิทธิมาตรการทางภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาสมุนไพรดีๆมีคุณภาพออกมาจำหน่าย
8. ภาครัฐสนับสนุนและช่วยในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนอนุญาตในการผลิต
9. พิจารณาให้สมุนไพรไทย สามารถบอกสรรพคุณ และประโยชน์ในการใช้ ตามการรับรองหรือการศึกษาวิจัยที่ค้นพบ ที่เป็นที่ยอมรับของสากล ไม่ใช่กีดกัน ไม่ให้สามารถบอกกล่าวสรรพคุณใหม่ๆ ที่ทันสมัยได้เลย
จากข้อปัญหาที่เจอ ถ้าประเทศไทย สามารถแก้ไขได้อย่างจริงจัง จะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ในแบบสินค้ามีมูลค่าและมีคุณค่า ไม่ใช่ขายกันแบบตลาดตามมีตามเกิด หรือ ตลาดสินค้าสุขภาพแบบประเทศไร้การพัฒนา
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน
กระเทียม เป็นหนึ่งในสมุนไพร ที่แนะนำให้บริโภคในช่วงที่มีการระบาดของ โควิด-19 เนื่องจากมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunomodulating effect) และต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effect)
มีสารในกลุ่มซัลเฟอร์ ถึง 70-80% จึงทำให้กระเทียมมีกลิ่นฉุนเฉพาะ ได้แก่ alliin, allicin, ajoene, allylpropyl disulfide, diallyl trisulfide (DATS), S-allylcysteine (SAC), vinyldithiins, S-allylmercaptocysteine
กระเทียมมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ทั้ง ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ เป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย และ
.
ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม (Adaptive or Acquired Immunity) เป็นด่านที่สองที่ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเม็ดเลือดขาว และ T lymphocyte ซึ่งจะสร้าง T cells ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อไวรัสในเซลล์และนอกเซลล์
.
ซึ่งการตอบสนองแบบจำเพาะนี้ มีคุณสมบัติในการจดจำเชื้อโรคได้ ทำให้การตอบสนองในครั้งหลังรวดเร็ว มีประสิทธิภาพดีและมีปริมาณมากกว่าการตอบสนองในครั้งแรก
การรับประทานกระเทียมเพื่อสุขภาพ
• 1-2 กลีบต่อวัน หรือประมาณ 4 กรัมของกระเทียมที่ไม่ได้ปลอกเปลือก
• ผงแห้งของกระเทียมประมาณ 900 กรัม
• สารสกัดจากกระเทียมบ่มขนาด 1 ถึง 7.2 กรัม
ข้อห้าม/ ข้อควรระวัง
การกินเข้มข้นขนาดสูง[สารสกัด] อาจทำให้มีผลกดภูมิคุ้มกัน
ห้ามบริโภคขนาดสูง ใน หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน [สามารถรับประทานในขนาดปกติที่เป็นอาหารได้]
ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟันที่ทำให้ต้องเสียเลือด ควรหยุดกินกระเทียม โดยเฉพาะในรูปแบบสารสกัด หรืออัดเม็ด อย่างน้อย 7 วัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
หากกินแล้วปวดท้อง จุกลิ้นปี่ ให้ลองปรับขนาดการกินให้ลดลง และกินหลังมื้ออาหาร
การบริโภคกระเทียมจะทำให้มีกลิ่นกระเทียมที่ปาก และลมหายใจ หากบริโภคติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้มีกลิ่นตัวตามผิวหนังด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Alschulera L, Weilb A, Horwitza R, Stametsd P, Chiassona AM, Crockera R, Maizes V. (2020). Integrative considerations during the COVID-19 pandemic. Explore 000, 1-3:
2. Moutia M, Habti N, Badou A. (2018). In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine Article ID 4984659: https://doi.org/10.1155/2018/4984659
3. Klein, S.; Rister, R.; Riggins, C. The Complete German Commission E Monographs: Therapeutic Guide to Herbal Medicines; American Botanical Council: Austin, TX, USA, 1998; p. 356.
4. Amagase H, et al. Intake of Garlic and Its Bioactive Components. American Society for Nutritional Science 2001.
5. Natural medicines. Garlic [อินเตอร์เนต]. 2020 [เข้าถึง 7 เม.ย. 63]. เข้าถึงจาก :https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=300

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา
♼กัญชา=ยาแก้ปวด
♼กัญชา=ยาสามัญประจำบ้าน
♼อีกไม่นาน..
ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะ
คงรับศึกน้อยลง!
เราคงจะเคยได้ยินมาว่า มีการนำกัญชาไปใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดเรื้อรัง จนนำไปสู่การทุกข์ทรมาน เพราะยาแก้ปวดในกลุ่มอื่นๆใช้ไม่ได้ผลแล้ว
แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว กัญชา เป็นยาแก้ปวด ที่รักษาหรือบรรเทาอาการปวดได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะปวดหัว ปวดไมเกรน ปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย ปวดข้อ ปวดเก๊าท์ เป็นต้น
เอาเป็นว่า ทุกๆการปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะสาเหตุอะไร โรคไหน กัญชาสามารถเอาอยู่ เพราะอะไร มาดูข้อมูลกัน
จากการศึกษาวิจัย เราพบว่า กัญชา ทั้งสาร CBD และ THC และสารอื่นๆที่อยู่ในกัญชา มีการออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียวกับยาเคมีที่ปวดที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการจับกับตัวรับ CB1 และ CB2
นอกจากนั้น กัญชายังมีฤทธิ์ทำให้สารกัญชาตามธรรมชาติในร่างกายที่เรียกกันว่า 2-AG และ AEA มีการเพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสารนี้ ทำให้ร่างกายสามารถทนการปวดได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับกลไกการออกฤทธิ์นั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า กัญชาออกฤทธิ์ผ่านกลไก ดังนี้
1. ยับยั้งเอนไซม์ที่มีชื่อว่า Cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้มีการหลั่งสารพรอสต้าแกลนดิน ซึ่งทำให้มีการปวดเกิดขึ้นนั่นเอง (ยาเคมีแก้ปวดในปัจจุบัน ออกฤทธิ์ผ่านทางนี้)
2. จับกับตัวรับที่มีชื่อว่า โอพิออยด์ (Opioid receptor) ซึ่งเป็นตัวรับเดียวกับยาแก้ปวดพวกมอร์ฟีน แต่กัญชา ไม่ทำให้คนไข้ติดยา และ เสียชีวิต จากการใช้เกินขนาด และกดการหายใจ เหมือนกับยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน
3. ยับยั้งเอนไซม์ที่ชื่อว่า Fatty acid amide hydrolase (FAAH) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารกัญชาให้หมดฤทธิ์ไว
4. ยับยั้งการส่งกระแสประสาทที่นำไปสู่การปวดเกิดขึ้น ทั้งในระบบประสาทส่วนปลายและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านตัวรับ CB1 และ CB2 ในระบบประสาททั้ง 2 ส่วน
5. ออกฤทธิ์ผ่าน Vallinoid receptor ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ลดการปวดร่วมกับกลไกอื่นๆที่กัญชาไปออกฤทธิ์
นอกจากนี้ กัญชายังออกฤทธิ์ผ่านกลไกแก้ปวดอีกหลายๆกลไก ที่กำลังอยู่ในการค้นพบและวิจัย
ดังนั้น เราจะเห็นว่า กัญชานั้น ออกฤทธิ์ผ่านระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการปวดในร่างกาย ได้มากกว่าหนึ่งกลไก ทำให้ควบคุมและการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และการปวดแบบเรื้อรัง ที่ผู้ป่วยต้องใช้ยาเคมีประจำ การใช้กัญชา จะทำให้ผู้ป่วยไม่ติดยา และลดอาการข้างเคียงต่างๆของยา เช่น ไตวาย ได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องให้กัญชานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มนี้ด้วย

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้

GPR55 ตัวรับของกัญชา

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้
ตัวรับ GPR55 เป็นตัวรับ หรือ Receptor อีกตัวหนึ่งของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ทั้งที่ร่างกายสร้างเองได้ เช่น AEA และ 2AG รวมทั้งรับจากกัญชาเข้าไปในร่างกาย
ตัวรับนี้ค้นพบ เมื่อ พ.ศ. 2542 แต่กว่าจะรู้ว่า บทบาทมันคืออะไรก็เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีความคล้ายคลึงกับตัวรับ CB1 และ CB2 ประมาณ 14% ในขณะที่ตัวรับ CB1 และ CB2 มีความคล้ายคลึงกัน 64%
งานวิจัยค้นพบว่า สารทั้ง 3 ชนิด คือ THC (จากกัญชา) และ AEA , 2-AG (ร่างกายสร้างเอง) มีคุณสมบัติเข้าไปกระตุ้นตัวรับ GPR55
แต่ในขณะเดียวกัน สาร CBD จากกัญชา ทำงานตรงกันข้าม นั่นก็คือ การเข้าไปยับยั้งหรือขัดขวาง
และจากการทำงานที่ตรงข้ามกันนี้ ทำให้ผลลัพธิ์ที่เกิดขึ้นในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆมีผลที่แตกต่างกัน
ซึ่งในส่วนของการเกิดมะเร็ง พบว่า ถ้ามีการกระตุ้นที่ตัวรับ GPR55 จะทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้
แต่ถ้าทำการยับยั้งตัวรับ GPR55 นี้ กลับให้ผลที่แตกต่างกัน คือ เซลล์มะเร็งไม่มีการเพิ่มจำนวนหรือเติบโตขึ้น และนำไปสู่การตายในที่สุด อารมณ์ประมาณว่า กำลังจะเกิด ยับยั้งปุ๊บ ตายเลย
ถึงแม้จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุป แต่เราก็พอทราบแล้วว่า สาร CBD ในกัญชามีบทบาทอย่างมากในการทำลายเซลล์มะเร็งผ่านตัวรับเพิ่มมาอีกตัว นอกเหนือจากตัวหลักพวก CB1 , CB2
ในอนาคตเราจึงต้องหากัญชาที่มีองค์ประกอบของสารที่ทำให้เซลล์มะเร็งกลัวมากที่สุดที่เหมาะสมกับคนไทย
ปล. ภาพประกอบให้เห็นภาพว่า ถ้ายับยั้งตัวรับ GPR55 จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การทำให้กระบวนการสร้างเซลล์มะเร็งลดลงได้ในที่สุด
อ้างอิงบางส่วนจาก
Concurrent activation of β2-adrenergic receptor and blockage of GPR55 disrupts pro-oncogenic signaling in glioma cells ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cellular Signalling เมื่อปี ค.ศ. 2017
GPR55 receptor antagonist decreases glycolytic activity in PANC-1 pancreatic cancer cell line and tumor xenografts ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ International Journal of Cancer เมื่อปี ค.ศ. 2017
The LPI/GPR55 axis enhances human breast cancer cell migration via HBXIP and p-MLC signaling ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Acta Pharmacologica Sinica เมื่อปี ค.ศ. 2018
Identification and cloning of three novel human G protein-coupled receptor genes GPR52, PsiGPR53 and GPR55: GPR55 is extensively expressed in human brain ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Brain Research. Molecular Brain Research เมื่อปี ค.ศ. 1999
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

หอมใหญ่

หอมใหญ่

หอมใหญ่

หอมใหญ่
คนไทยมีการใช้หอมในการรักษาหวัดมานานแล้ว ทั้งหอมใหญ่และหอมแดง และพบว่าทั้งหอมใหญ่ และหอมเล็กมีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน(ต้านการแพ้) ช่วยขยายหลอดลม พื้นบ้านใช้แก้หวัด แก้ไอ
สารเควอซิติน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่สูง จึงนิยมนำ สาร Quercetin มาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือด และหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆ
เมนูแนะนำ ต้านหวัด
– ยำ หรือสลัด ใส่หอม หอมแดง
– ซุปไก่ใส่หัวหอม

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง [สูตรโอท็อป]
ทำไว้กินเองได้ หรือลองไปประยุกต์ทำขายก็ได้เช่นกันนะคะ
เรื่องน่ารู้ของกระเทียม
การใช้ประโยชน์ทางยาจากกระเทียมนั้น ต้องบดกระเทียมให้ละเอียดเพื่อให้สาร alliin(อัลลิอิน) ในกระเทียมเปลี่ยนเป็นสารออกฤทธิ์ allicin (อัลลิซิน) อย่างเต็มที่
กระเทียมบดแล้วต้องกินทันทีไม่ทิ้งไว้นาน เพื่อโอสถสารจะได้ไม่สลายตัว
บางท่านอาจจะแพ้กระเทียม มีทั้งอาการแพ้ทางผิวหนัง หอบหืด ผู้แพ้ละอองเกสรดอกไม้มีโอกาสแพ้กระเทียมมากกว่าคนปกติ
หากกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ ให้ระวังการรับประทานกระเทียม เพราะจะไปเสริมฤทธิ์ยาดังกล่าว
ท่านที่รับประทานกระเทียมเป็นประจำ หากจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดไม่แข็งตัวหลังการผ่าตัด
ผู้ที่มีธาตุร้อนเป็นเจ้าเรือน คือ มีอาการหน้าแดง คอแห้ง ท้องผูก ร้อนใน กระหายน้ำ กระเพาะอาหารเป็นแผลหรืออักเสบเรื้อรัง มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ไม่ควรกินหรือกินได้เล็กน้อย
ดับกลิ่นกระเทียมดิบในปาก ให้เคี้ยวใบชา หรือใช้น้ำชาแก่ๆ บ้วนปาก หรือเคี้ยวพุทราจีน 2-3 เม็ดหรือยี่หร่า 3-4 เม็ด หรือถั่วเขียว 4-5 เมล็ด
กระเทียมดองทำให้กินกระเทียมได้ง่ายขึ้น แม้ไม่มีสารออกฤทธิ์ allicin แต่มีสาร S-allycysteine ที่ออกฤทธิ์ได้เช่นกัน
กระเทียมควรรับประทานพร้อมกับโปรตีน เพื่อไม่ให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และไม่ควรรับประทานกระเทียมตอนท้องว่าง

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด​
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Rosc.
​“ขิง” เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมานาน เห็นได้จาก ประเทศจีน ซึ่งเป็นชนชาติที่เก่าแก่ ก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากขิง
แพทย์จีนโบราณจัดขิงเป็นพืชรสเผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดคลอเลสเตอรอลที่สะสมในตับและเส้นเลือด
ในตำรับเภสัชของสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1985 จึงบรรจุขิง ทั้ง “ขิงสด” “ขิงแห้ง” และ “ทิงเจอร์ขิง” เป็นยาสมุนไพรแห่งชาติตัวหนึ่ง
แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้งในแง่มุมที่ต่างกัน
.
โดยจะใช้ขิงแห้งในภาวะที่ขาดหยาง (ภาวะขาดหยาง คือ ภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็น หนาวง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น)
.
จะใช้ขิงสดเมื่อต้องการกำจัดพิษที่เกิดจากการติดเชื้อภายในร่างกาย โดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ
ขิงสด ช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเสมหะ (สุภาภรณ์ ปิติพร. 2545)
สิ่งที่คนทุกมุมโลกใช้เหมือนกัน ก็คือ การใช้ในการแก้หวัด และแก้ไอ ซึ่งได้มีการศึกษาพบว่า “ขิง”
มีสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และมีการทดลองพบว่า
น้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น
ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าภูมิปัญญาอันเก่าแก่ในการใช้ประโยชน์จากขิง (Imanishi N et al, 2006)
มีการศึกษาประสิทธิผลของขิงต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลอง ทำการป้อนน้ำมันหอมระเหยขิง ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากขิงมีผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์ T lymphocyte ซึ่งอาจมีประโยชน์ในทางคลินิก เช่น การอักเสบเรื้อรังและโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Zhou HL, et al. 2006)
มีการทดลองโดยใช้ขิงแห้งและขิงสดมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำขิงร้อน เพื่อทดสอบกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัสอาร์เอสวี (Human Respiratory Syncytial Virus) ผลลัพธ์พบว่าน้ำขิงที่ได้จากขิงสดมีประสิทธิผลต่อต้านการสะสมของเชื้อไวรัสบริเวณเยื่อบุผิวทางเดินหายใจด้วยการป้องกันการยึดเกาะ หรือป้องกันการแพร่ของไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ (Chang JS, et al. 2013)
. ขิง จึงเป็นสมุนไพรแนะนำสำหรับการใช้เป็นเครื่องดื่มในช่วงหวัดโควิดระบาดนี้ เพราะขิงเป็นสมุนไพรที่หาง่าย มีความปลอดภัยสูง ใช้กันมานาน คนทั่วไปคุ้นเคย กินง่าย ทำได้เอง
ปัจจุบันขิงบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และองค์การอนามัยโลกรับรองในการรักษาหวัด
ข้อจำกัดในการกินขิงปริมาณสูง
– ในหญิงตั้งครรภ์
– ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี
– ในผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาฟาริน
ในกรณีที่เป็นหวัด น้ำขิงที่ต้มเองจะดีที่สุด
Reference
สุภาภรณ์ ปิติพร. ขิง : ยาดีที่โลกรู้จัก. นิตยสารหมอชาวบ้าน 2545. เดือน พฤศจิกายน เล่มที่ 283.
Chang JS, et al. Fresh ginger (Zingiber officinale) has anti-viral activity against human respiratory syncytial virus in human respiratory tract cell lines. J Ethnopharmacol 2013;145(1):146-51.
Imanishi N, et al. Macrophage-mediated inhibitory effect of Zingiber officinale Rosc, a traditional oriental herbal medicine, on the growth of influenza A/Aichi/2/68 virus. Am J Chin Med 2006;34(1):157-69.
Zhou HL, et al. The modulatory effects of the volatile oil of ginger on the cellular immune response in vitro and in vivo in mice. J Ethnopharmacol 2006;105(1-2):301-

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้ ปวดหัว ตัวร้อน วิจัยพบสรรพคุณไม่แพ้ยาพาราเซตามอล
…ตำรับยาจันทน์ลีลา เป็นตำรับยาแก้ไข้ ประกอบด้วยสมุนไพรหลัก 8 ชนิด ได้แก่ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทน์ขาวหรือจันทน์ชะมด จันทน์แดง กระดอม บอระเพ็ด และปลาไหลเผือก
…ยาจันทน์ลีลาเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้านและจัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ (1) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สูตรตำรับ ในผงยา 99 กรัม ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา แก่นจันทน์ขาวหรือ จันทน์ชะมด แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม เถาบอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ 12 กรัม พิมเสน หนัก 3 กรัม
ข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
ขนาดและวิธีใช้ :
ชนิดผง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ก. ละลายน้ำสุก ทุก 3- 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก.-1 ก. ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ก. ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก.-1 ก. ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ข้อควรระวัง
– ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
– หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ข้อมูลเพิ่มเติม
แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน
สำหรับรายงานวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณของตำรับยาจันทน์ลีลา มีดังนี้
ฤทธิ์แก้ไข้
เมื่อป้อนกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดไข้ด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ด้วยผงยาตำรับจันทน์ลีลา ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. หรือยาพาราเซตามอล ขนาด 200 มก./กก. พบว่ายาจันทน์ลีลาขนาด 400 มก./กก. สามารถลดไข้ได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1 หลังจากได้รับยา และยังแสดงผลลดไข้ต่อเนื่องไปอีก 3 ชั่วโมงเช่นเดียวกับยาพาราเซตามอล (2) ตำรับยาจันทน์ลีลาขนาด 1,200 มก./กก. มีฤทธิ์ลดอุณหภูมิร่างกายของหนูแรทที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยยีสต์ได้ แต่ฤทธิ์อ่อนกว่ายาแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. (3) การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นไข้ จำนวน 18 คน อายุระหว่าง 16-55 ปี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิทางปากก่อนให้ยาเท่ากับ 38.6±0.2 °C โดยให้ยาจันทน์ลีลาขนาด 500 มก. จำนวน 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ทำการวัดอุณหภูมิ ทางปากทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 72 ชั่วโมง พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่สามารถลดไข้ได้ อาจเนื่องมาจากในการทดลองเลือกใช้ยาในขนาดต่ำสุดที่ได้ระบุไว้ในตำรายา (4)
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของตำรับยาจันทน์ลีลาในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการบวมของใบหูด้วย ethyl phenylpropiolate (EPP) โดยให้ยาจันทน์ลีลาในขนาด 1, 2 และ 4 มก./20 มคล./หู เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน phenylbutazone ขนาด 1 มก./20 มคล./หู และกลุ่มควบคุม พบว่าสามารถลดการบวมของใบหูหนูและให้ผลใกล้เคียงกับยา phenylbutazone นอกจากนี้ ยาจันทน์ลีลาที่ขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าด้วยคาราจีแนนได้ (3)
ฤทธิ์แก้ปวด
ตำรับยาจันทน์ลีลาขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยการฉีดฟอร์มาลินเข้าใต้ผิวหนังหลังเท้าหนู โดยให้ผลดีกว่ายามาตรฐานแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. ในระยะแรก (early phase; ระยะที่เกิดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน ประมาณ 0-5 นาที หลังฉีดฟอร์มาลีน) แต่ให้ผลใกล้เคียงกันในระยะหลัง (late phase; ประมาณ 15-30 นาทีหลังฉีดฟอร์มาลิน) (3)
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
การศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอลร่วมกับกรดเกลือ (ethanol/hydrochloric acid) การแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด และยาต้านการอักเสบ อินโดเมทาซิน (30 มก./กก.) เมื่อป้อนด้วยตำรับยาจันทน์ลีลา ขนาด 150, 300 และ 600 มก./กก. เปรียบเทียบผลกับยา cimetidine ขนาด 100 มก./กก. พบว่าตำรับยาทุกขนาด และยา cimetidine มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้ แต่ตำรับยาจันทน์ลีลาไม่มีผลลดการหลั่งกรดและความเป็น กรดรวม (total acidity) และไม่มีผลเพิ่มค่า pH ในกระเพาะอาหาร ขณะที่ยา cimetidine มีผลเพิ่มค่า pH ในกระเพาะอาหาร แสดงว่าฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของตำรับยาจันทน์ลีลาไม่ได้เกี่ยวข้อง กับฤทธิ์ในการยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (3)
ฤทธิ์ต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
การศึกษาผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของตำรับยาจันทน์ลีลาในอาสามัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน อายุ 19-30 ปี โดยให้รับประทานยา ขนาด 750 มก./ครั้ง (เม็ดละ 250 มก. จานวน 3 เม็ด) ทุก 8 ชั่วโมง 3 ครั้งติดต่อกัน ทำการเจาะเลือดอาสาสมัครก่อนได้รับยา และที่เวลา 8, 32 ชม. และ 8-10 วัน ภายหลัง การให้ยาครั้งแรก วัดผลการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดยใช้เครื่อง aggregometer และ microplate reader โดยสารกระตุ้นการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ใช้ คือ adrenaline, และ adenosine diphosphate (ADP) พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดไม่ว่าจะใช้ adrenaline หรือ ADP เป็นสารกระตุ้น ทั้งการวัดด้วยวิธี aggregometer และ microplate reader และไม่พบอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สรุปได้ว่าตำรับยาจันทน์ลีลาสามารถใช้ลดไข้ได้โดยไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มและจำนวนเกล็ดเลือดของผู้ป่วย (5)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของตำรับยาจันทน์ลีลาในหนูแรท โดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับยา ขนาด 5 ก./กก. น้ำหนักตัว เพียงครั้งเดียว พบว่าไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำให้หนูตาย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน และการศึกษา พิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัด ขนาด 600, 1,200 และ 2,400 มก./กก. เป็นเวลา 90 วัน พบว่าสารสกัด ทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดพิษ และไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีในเลือดของหนู (6)
เมื่อให้สารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากตำรับยาจันทน์ลีลาโดยกรอกทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนังและ ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ในขนาด 1, 3 และ 10 ก./กก. พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่แสดงอาการพิษเมื่อให้ทางปาก แต่เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังและช่องท้องในขนาดสูง (10 ก./กก.) หนูมีอาการซึมเล็กน้อยในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังฉีด มีอาการยืดตัวไปมาเนื่องจากระคายเคืองในช่องท้อง (wrighting effect) เล็กน้อย แต่ไม่มีการตาย และมีค่า LD50 = 13.22 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง ในการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังโดยให้หนูแรทกินอาหารที่ผสมยาจันทน์ลีลาในขนาด 0.5, 5 และ 10% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งคิดเป็น 4, 40 และ 80 เท่าของขนาดของยาที่ใช้รักษาในคน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของหนู ไม่พบความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิยาและชีวเคมีของเลือด และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในของหนู (7)
จากข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยจะเห็นได้ว่า ตำรับยาจันทน์ลีลามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาตามสรรพคุณ ที่ได้กล่าวอ้าง คือ แก้ไข้ แก้ปวด และต้านการอักเสบ และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจ ในประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับยาที่จะนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ และเป็นการสนับสนุนและเผยแพร่ตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน
เอกสารอ้างอิง
1.ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 184 ง วันที่ 10 สิงหาคม 2558.
2.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ยุวดี วงษ์กระจ่าง รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล รัตนา นาคสง่า บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล. ฤทธิ์ลดไข้ของยาตำรับจันท์ลีลา. วารสารสมุนไพร 2544;8(1):24-30.
3.Sireeratawong S, Khonsung P, Piyabhan P, Nanna U, Soonthornchareonnon N, Jaijoy K. Anti-inflammatory and anti-ulcerogenic activities of Chantaleela recipe. Afr J Tradit Complement Altern Med 2012;9(4):485-94.
4.ธนกร วิเวก ชยันต์ พิเชียรสุนทร จุลรัตน์ คนศิลป์ ประทีป เมฆประสาร พรรณี ปิติสุทธิธรรม. การทดสอบยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณจันท์ลีลาทางคลินิก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2550;6(2):62.
5.Itthipanichpong R, Lupreechaset A, Chotewuttakorn S, et al. Effect of Ayurved Siriraj herbal recipe Chantaleela on platelet aggregation. J Med Assoc Thai 2010;93(1):115-22.
6.Sireeratawong S, Chiruntanat N, Nanna U, Lertprasertsuke N, Srithiwong S, Soonthornchareonnon N, Jaijoy K. Acute and subchronic toxicity of Chantaleela recipe in rats. Afr J Tradit Complement Altern Med 2013;10(1):128-33.
7.วันทนา งามวัฒน์ ปราณี ชวลิตธำรง อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์ โอรส ลีลากุลธนิต เอมมนัส อัมพรประภา จรินทร์ จันทร์ฉายะ รังสรรค์ ปัญญาธัญญะ. ความเป็นพิษของยาแก้ไข้จันท์ลีลาในสัตว์ทดลอง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2530;29(4):299-305.
Cr. ข้อมูลจาก MED HERB GURU

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม ...กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica
วงศ์ : Phyllanthaceae
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : กันโตด (เขมร – กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
มะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมากกกกก กล่าวกันว่ามีมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า และที่สำคัญ วิตามินซีในมะขามป้อมยังสามารถคงสภาพอยู่ได้แม้จะถูกทำให้แห้ง หรือผ่านความร้อน
เป็นยาอายุวัฒนะขนานหนึ่ง สามารถกินเป็นผลไม้แก้กระหายน้ำได้ อีกทั้งเป็นยาบำรุงแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาเลือดออกตามไรฟัน แถมมีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาไข้จากอากาศเปลี่ยน
ล่าสุด มีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า มะขามป้อม มีคุณสมบัติที่สำคัญคือกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดย สารสำคัญแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญดังนี้
phyllaemblicin B และ phyllaemblinol เป็นสารกลุ่ม flavonoids ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส
phyllaemblicin G7 จะป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ โดยการจับที่ขาของไวรัส และไปจับที่ตัวรับที่ปอด ทำให้ไวรัสไม่สามารถเข้าปอดได้
[**งานวิจัยขั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มแรก คือการศึกษาโครงสร้างของสารกับโครงสร้างของเชื้อในคอมพิวเตอร์แบบสามมิติ]
อ่านเพิ่มเติม
1. Jaijoy, K., Soonthornchareonnon, N., Panthong, A., & Sireeratawong, S. (2010). Anti-inflammatory and analgesic activities of the water extract from the fruit of Phyllanthus emblica Linn. International Journal of Applied Research in Natural Products, 3.
2.Singh, M. K., Yadav, S. S., Gupta, V., & Khattri, S. (2013). Immunomodulatory role of Emblica officinalis in arsenic induced oxidative damage and apoptosis in thymocytes of mice. BMC Complement Altern Med, 13, 193. doi: 10.1186/1472-6882-13-193
3.Wu, C., Liu, Y., Yang, Y., Zhang, P., Zhong, W., Wang, Y., . . . Li, H. (2020). Analysis of therapeutic targets for SARS-CoV-2 and discovery of potential drugs by computational methods. Acta Pharmaceutica Sinica B. doi: https://doi.org/10.1016/j.apsb.2020.02.008
4.Yadav, S. S., Singh, M. K., Singh, P. K., & Kumar, V. (2017). Traditional knowledge to clinical trials: A review on therapeutic actions of Emblica officinalis. Biomed Pharmacother, 93, 1292-1302. doi: 10.1016/j.biopha.2017.07.065