กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน
กระเทียม เป็นหนึ่งในสมุนไพร ที่แนะนำให้บริโภคในช่วงที่มีการระบาดของ โควิด-19 เนื่องจากมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunomodulating effect) และต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effect)
มีสารในกลุ่มซัลเฟอร์ ถึง 70-80% จึงทำให้กระเทียมมีกลิ่นฉุนเฉพาะ ได้แก่ alliin, allicin, ajoene, allylpropyl disulfide, diallyl trisulfide (DATS), S-allylcysteine (SAC), vinyldithiins, S-allylmercaptocysteine
กระเทียมมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ทั้ง ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ เป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย และ
.
ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม (Adaptive or Acquired Immunity) เป็นด่านที่สองที่ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเม็ดเลือดขาว และ T lymphocyte ซึ่งจะสร้าง T cells ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อไวรัสในเซลล์และนอกเซลล์
.
ซึ่งการตอบสนองแบบจำเพาะนี้ มีคุณสมบัติในการจดจำเชื้อโรคได้ ทำให้การตอบสนองในครั้งหลังรวดเร็ว มีประสิทธิภาพดีและมีปริมาณมากกว่าการตอบสนองในครั้งแรก
การรับประทานกระเทียมเพื่อสุขภาพ
• 1-2 กลีบต่อวัน หรือประมาณ 4 กรัมของกระเทียมที่ไม่ได้ปลอกเปลือก
• ผงแห้งของกระเทียมประมาณ 900 กรัม
• สารสกัดจากกระเทียมบ่มขนาด 1 ถึง 7.2 กรัม
ข้อห้าม/ ข้อควรระวัง
การกินเข้มข้นขนาดสูง[สารสกัด] อาจทำให้มีผลกดภูมิคุ้มกัน
ห้ามบริโภคขนาดสูง ใน หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน [สามารถรับประทานในขนาดปกติที่เป็นอาหารได้]
ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟันที่ทำให้ต้องเสียเลือด ควรหยุดกินกระเทียม โดยเฉพาะในรูปแบบสารสกัด หรืออัดเม็ด อย่างน้อย 7 วัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
หากกินแล้วปวดท้อง จุกลิ้นปี่ ให้ลองปรับขนาดการกินให้ลดลง และกินหลังมื้ออาหาร
การบริโภคกระเทียมจะทำให้มีกลิ่นกระเทียมที่ปาก และลมหายใจ หากบริโภคติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้มีกลิ่นตัวตามผิวหนังด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Alschulera L, Weilb A, Horwitza R, Stametsd P, Chiassona AM, Crockera R, Maizes V. (2020). Integrative considerations during the COVID-19 pandemic. Explore 000, 1-3:
2. Moutia M, Habti N, Badou A. (2018). In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine Article ID 4984659: https://doi.org/10.1155/2018/4984659
3. Klein, S.; Rister, R.; Riggins, C. The Complete German Commission E Monographs: Therapeutic Guide to Herbal Medicines; American Botanical Council: Austin, TX, USA, 1998; p. 356.
4. Amagase H, et al. Intake of Garlic and Its Bioactive Components. American Society for Nutritional Science 2001.
5. Natural medicines. Garlic [อินเตอร์เนต]. 2020 [เข้าถึง 7 เม.ย. 63]. เข้าถึงจาก :https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=300
SHARE NOW

Facebook Comments