Latest Posts

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ผู้ใช้ควรรู้!! ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD​

กัญชากับสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
THC
1. (THC) ทําให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมา
2. (THC) ชะลอการส่งสัญญาณของสมองที่มากเกินไป ทําให้การสื่อสารของสมองลดการถูกรบกวนซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียดลง ก่อให้เกิดความคิดที่โลดแล่น (Creative)
3. (THC) ช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์ประสาท (Neurogenesis) ซึ่ง อาจเป็นหนทางของการรักษาหรือบรรเทาโรค อัลไซเมอร์**
4. (THC) ลดการอักเสบของระบบประสาท (Reduce Neuroinflammation) ลดอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบในสมอง (more…)

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

🌿ในแวดวงเวชศาสตร์ชะลอวัย หรือ วงการแพทย์ที่ว่าด้วยการชะลอความแก่ให้กับเซลล์ร่างกายในทุกๆส่วน รวมทั้งผิวหนังด้วย จะมีคำว่า Inflammaging ซึ่งเป็นคำที่มาจาก 2 คำ ดังนี้

🌿Inflammation ซึ่งหมายถึงการอักเสบ กับคำว่า

🌿Aging ซึ่งหมายถึง อายุที่มากขึ้น

🌿พอรวมกันเป็น Inflammaging ซึ่งก็หมายถึง การอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายตามอายุที่มากขึ้นสะสมไปเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อย

🌺อธิบายให้เข้าใจมากขึ้น ดังนี้🌺

🌸ทุกๆลมหายใจของคนเรา จะมีปฏิกิริยาต่างๆเกิดขึ้นมากมายตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลานอน และผลของปฏิกิริยาเหล่านี้ละ นำไปสู่การอักเสบที่ละเล็กทีละน้อยสะสมไปเรื่อยๆ ซึ่งการอักเสบที่เกิดขึ้น ยังไม่ได้มีผลถึงขนาดว่า เรามีการเจ็บป่วย หรือ เจ็บปวด ให้รับรู้ได้ เราจึงยังไม่มีผลกระทบต่อชีวิต

🌸ซึ่งโดยปกติ ร่างกายก็จะมีระบบที่คอยกำจัดการอักเสบเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย แต่เงื่อนไข ต้องอยู่ที่ว่า ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

🌸แต่พออายุที่มากขึ้น การเกิด Inflammaging ก็จะยิ่งส่งผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะระบบที่ช่วยกำจัดการอักเสบนั้น ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม

🌸ผลที่เกิดขึ้น ของการเกิดการอักเสบเหล่านี้ นำไปสู่การเสื่อมของทุกเซลล์ในร่างกาย ตั้งแต่ภายใน เช่น

🌸ระบบการควบคุมน้ำตาลในเลือด จนนำไปสู่โรคเบาหวาน ระบบกล้ามเนื้อและข้อ จนนำไปสู่โรคข้อเสื่อม ระบบเซลล์ที่ผิดปกติกลายพันธุ์จนนำไปสู่โรคมะเร็ง และการอักเสบของผิวหนัง จนนำไปสู่ผิวหนังเหี่ยวย่น เมื่ออายุมากขึ้น เป็นต้น

🌸หรือเข้าใจง่ายๆ คือ การอักเสบแบบ Inflammaging มีลักษณะเหมือน น้ำต้มกบ ที่ค่อยๆเดือด แต่กบไม่รู้ตัว จนสุดท้าย กว่าจะรู้ตัว ตัวกบก็สุกจนทำให้กบตายได้

🌻ซึ่งก็เหมือนกัน การอักเสบในระดับที่เล็กน้อยสะสมไปเรื่อยๆแบบ Inflammaging ที่เราไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกที เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และโรคเสื่อมต่างๆ ไปแล้ว นั่นเอง

🌻อย่างที่ผมเคยเขียนไปว่า เราจะถูกสอนให้เรียกชื่อโรคว่าอะไรก็ตามที แต่ต้นตอของจุดร่วมในทุกๆโรค คือ การอักเสบ

🌻ฉะนั้น สารอาหารต้านการอักเสบ จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าต่อการนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพ ป้องกันสุขภาพ ตรงนี้ คือ ข้อเท็จจริงที่ประชาชนต้องรู้ ถ้าต้องการดูแลสุขภาพของตัวเองได้

สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชาและกัญชง มีการค้นพบว่า มีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้อย่างดี และมีการนำมาใช้ในศาสตร์การแพทย์ชะลอวัยมากขึ้น

การแพทย์ชะลอวัย ไม่ได้หมายถึง ผิวหนังเต่งตึงไม่แก่ ไม่เหี่ยว นะครับ มันหมายถึง ทุกๆอวัยวะในร่างกาย ทุกๆเซลล์ ที่ต้องมีสุขภาพดี

🌠การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในขนาดต่ำ สามารถช่วยลดการชะลอวัยของเซลล์ในร่างกายได้ โดยเฉพาะเซลล์สมอง ที่มีงานวิจัยออกมาพอสมควร ในการที่ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ได้รับกัญชาในขนาดต่ำๆ สามารถชะลอการเสื่อมของสมอง ลดการอักเสบ และยังฟื้นฟูเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้ เป็นต้น

💧ฉะนั้น สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จึงไม่ใช่แค่ สมุนไพรชนิดหนึ่ง แต่มันจะกลายเป็นองค์ประกอบหลักในทุกๆเมนูหรือสารอาหารที่สามารถดูแลสุขภาพได้รอบด้าน ตามข้อเท็จจริงที่วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบเพิ่มขึ้นในทุกๆวัน

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

มหัศจรรย์กัญชา

มหัศจรรย์กัญชา

มหัศจรรย์กัญชา

ทำไม กัญชาจึงรักษาโรคได้มากมายแทบทุกโรค เหตุผลก็คือ “โรคทุกโรคที่มนุษย์เป็นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับสารที่อยู่ในพืชกัญชา” “บิดาแห่งกัญชาเพื่อการแพทย์สมัยใหม่” : ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam
เผยแพร่: 2 มิ.ย. 2562 18:39 โดย: ประสาท มีแต้ม

ผมมีเหตุผลสองประการในการเขียนถึงเรื่องกัญชาอีกครั้งในสัปดาห์นี้ เพราะว่า (1) ผู้นำของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้แสดงความเห็นต่อสาธารณะว่า “กัญชาสามารถรักษาได้เพียงบางโรคเท่านั้น” ในขณะที่ผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่ผมอ้างถึงนี้พบว่า “โรคทุกโรคที่มนุษย์เป็นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับสารที่อยู่ในพืชกัญชา” นั่นคือ แม้ภาครัฐได้ยอมรับความจริงในบางระดับแต่ก็ยังได้ปกปิดความจริงที่สำคัญกว่าไว้ต่อไป และ (2) เพื่อเป็นกำลังใจกับภาคประชาสังคมที่กำลังเดินรณรงค์ให้กัญชาเป็นยารักษาโรค ไม่ใช่ยาเสพติดที่เราถูกหลอกมาตลอด

ขอแถมอีกหนึ่งประการหนึ่งครับ เพื่อเอาใจแฟนๆ ประจำที่สนใจเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพราะผมพบว่ากลไกอำนาจรัฐที่พยายามกีดกันทุกวิถีทางในการเข้าถึงกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ของประชาชน กับการกีดกันการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโซลาร์เซลล์บนหลังคานั้นช่างเหมือนกันราวกับ copy and paste ดังนั้น ภาคประชาชนที่สนใจทั้งสองกลุ่มจึงควรร่วมกันช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณะด้วยครับ

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับผู้ที่ได้รับเกียรติว่าเป็น “บิดาแห่งวงการกัญชาทางการแพทย์สมัยใหม่ (The Father of Modern Cannabis Medicine หรือ Father of Cannabinoid Medicine)” ผมขอเสนอภาพปกหนังสือออกใหม่ (2018- ผมยังไม่ได้อ่าน) อีกสักภาพ ซึ่งในภาพมีข้อความจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลที่ได้จับงานวิจัยเรื่องกัญชาอย่างกัดไม่ปล่อยมานานกว่า 50 ปี (ปัจจุบันท่านอายุ 89 ปี) ว่า “แทบจะไม่มีระบบสรีระใดในร่างกายเลยที่ระบบ Endocannabinoid ไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ด้วย”

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สาร Endocannabinoid มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทุกชนิดในมนุษย์

ประเด็นที่เป็นความแตกระหว่างข้อมูล “ผู้นำของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง” กับ ข้อมูลของ “บิดาแห่งวงการกัญชาเพื่อการแพทย์” อยู่ตรงนี้แหละครับ

คือ ฝ่ายหลังบอกว่า “แทบจะไม่มีระบบสรีระใดของร่างกาย ที่ระบบ Endocannabinoid ไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ด้วย”

ซึ่งสาร Endocannabinoid (ในสมองของร่างกาย) ก็คือสาร Phytocannabinoid (ในพืชกัญชา) หรือเรียกรวมๆ ว่า Cannabinoid โดยมีชื่อนำหน้ามาเติมให้ทราบที่มาเท่านั้นเอง

การทำงานหน้าที่ของระบบสรีระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบการสร้างกระดูก ระบบการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการเจริญอาหาร ระบบความเจ็บปวด การเติบโต ระบบการตั้งครรภ์ ฯลฯ ต่างก็เกี่ยวข้องกับระบบ Endocannabinoid หรือระบบที่ต้องใช้สารจากพืชกัญชาทั้งนั้น

ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam ได้เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ในต่างกรรมต่างวาระกันว่า “นักวิจัยที่มีความมุ่งมั่นมากกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ระบบ Endocannabinoid มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับโรคทุกชนิดในมนุษย์”

ขอย้ำว่า “โรคทุกชนิดในมนุษย์”ไม่ใช่ “บางโรคเท่านั้น” ดังที่ผู้นำบางหน่วยงานได้ออกมาปรามกระแสความตื่นตัวของประชาชน

อนึ่ง ผมเองไม่ใช่แพทย์ และไม่มีความรู้ในเรื่องสรีระที่ลึกซึ้งพอ แต่ผมเป็นคนชอบ “คิดลึก” ชอบรับฟังเหตุผลและชอบค้นคว้าหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายของทุกฝ่ายแล้วนำมาพิจารณา แล้วผมก็เชื่อในคำอธิบายของศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam รวมทั้งของนักวิชาการท่านอื่นๆ ด้วย

ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam เกิดที่ประเทศบัลกาเรีย (1930) แล้วอพยพตามบิดาซึ่งเป็นแพทย์ไปอยู่ประเทศอิสราเอลเมื่อเขาอายุ 19 ปี และจบปริญญาเอกสาขาเคมีในปี 1958

“กฎหมายในหลายประเทศทำให้นักวิชาการไม่ต้องการจะทำวิจัยเรื่องกัญชา นักเคมีไม่สามารถหากัญชามาศึกษาได้ นักชีววิทยาไม่มีอะไรให้ศึกษาและทุนวิจัยก็ไม่มี” นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Raphael Mechoulam นักวิชาการหนุ่มไฟแรงต้องการจะปลดล็อกเมื่อ 50 ปีก่อน

ก่อนปี 1963 Raphael Mechoulam และทีมงานได้ค้นพบสูตรโครงสร้างของ cannabidiol (CBD) ซึ่งอยู่ในพืชกัญชา (ซึ่งฝรั่งเรียกว่า cannabis) และในอีกหนึ่งปีต่อมาทีมงานของเขาก็พบสารเคมีอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียก Tetrahydrocannabinol เป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า THC

ปี 1988 มีการค้นพบว่าในสมองของหนูมีระบบที่สามารถรับสาร cannabidiol (CBD) โดยเรียกว่า cannabinoid receptors

(ตัวรับสาร CBD) ซึ่ง ตัวรับสารตัวนี้จะกระจายตัวอยู่ทั่วร่างกายซึ่งทำให้สาร cannabidiol สามารถออกฤทธิ์ได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ผมได้สอบถามอาจารย์ด้านชีววิทยาท่านหนึ่ง (ซึ่งมีความรู้ในเรื่องนี้มากกว่าผมเยอะมาก) ว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ว่า สาร CBD เหมือนกับโทรศัพท์ต้นทาง เมื่อส่งสัญญาณถูกส่งออกไป ผู้ที่จะรับสัญญาณได้ก็ต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ต้นทางไว้ก่อน cannabinoid receptors จึงเปรียบเสมือนเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง อาจารย์ชีววิทยาดังกล่าวบอกผมว่าเป็นคำอธิบายที่พอใช้ได้

สาร THC ก็มีตัวรับชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะ สาร CBD ก็มีตัวรับอีกตัวหนึ่ง ไม่เหมือนกับของ THC

หรือเหมือนกับลูกกุญแจแบแม่กุญแจ จะไขกันได้ก็ต้องมีการจัดการเป็นพิเศษมาก่อนแล้วเท่านั้น

จากภาพข้างต้นเราจะเห็นว่า แต่ละอวัยวะมีตัวรับสารที่แตกต่างกัน และแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกัน

ปัจจุบันมีการค้นพบสาร CBD กว่าร้อยชนิดแล้ว

“ผมเชื่อว่าสารที่มีอยู่ในพืชกัญชาเป็นขุมทรัพย์ทางการแพทย์ที่รอการค้นพบ”ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam

ในชีวิตส่วนตัว Raphael Mechoulam มีบุตร 1 คน เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ มีลูกสาว 2 คน เป็นกุมารแพทย์ด้านตา และกุมารแพทย์ด้านเวชการ มีหลาน 7 คน ทุกคนอาศัยอยู่ในเยรูซาเลม

“เราโชคดีมาก ทุกวันศุกร์พวกเขาจะมาทานอาหารเย็นด้วยกัน”

ประโยคสุดท้ายนี้สะท้อนถึงความสุขในชีวิตครอบครัวของท่าน ซึ่งครั้งหนึ่งท่านได้พูดอย่างติดตลกว่า ชาวอิสราเอลไม่ค่อยมีความสุข จึงเป็นเหตุว่าท่านได้ตั้งชื่อสารที่ท่านค้นพบในสมองมนุษย์เป็นภาษาสันตกฤต ว่า Anandamide ซึ่งคำว่า Ananda แปลว่าความสุขสำราญกันสุดยอด

ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว สาร cannabinoid คือสารที่ทำหน้าที่กำกับการทำงาน หรือเป็นซีอีโอของร่างกายมนุษย์ทุกระบบ ดังนั้น สารเคมีดังกล่าวซึ่งมีอยู่ในพืชกัญชาจึงเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการเกิดและการรักษาโรคทุกชนิดครับ

 

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

ปัญหาของการรักษามะเร็งในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในเรื่องการรักษาหายได้หรือไม่ เพราะมะเร็งหลายๆชนิด ถ้ารักษาทันท่วงที ก็กำจัดเซลล์มะเร็งให้หายไปตามนิยามการแพทย์ได้

แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ที่เหมือนโอกาสสุดท้าย ที่มะเร็งหยิบยื่นมา นั่นก็คือ การกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง และมักจะนำไปสู่ความตาย

ยาเคมีในปัจจุบัน ถึงแม้จะทำลายเซลล์มะเร็งได้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงเซลล์มะเร็งลิ่วล้อของบรรดาอาณาจักรมะเร็งที่เกิดขึ้น

ยังไม่สามารถกำจัดต้นตอของมันได้อย่างอยู่หมัด ซึ่งเซลล์พวกนี้ เรียกว่า เซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง หรือ Cancer Stem Cell นั่นเอง

ซึ่งพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ โคลนตัวเองได้อย่างไม่จำกัด และแพร่กระจายออกไปอย่างบ้าคลั่ง ที่สำคัญ พวกมันมีกลไกป้องกันตัวเองจากยาเคมีได้อย่างมหัศจรรย์

ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง The Maze Runner จะเห็นว่า เส้นทางเขาวงกตจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆในทุกๆครั้งที่มีคนออกไปสำรวจ เปรียบให้เห็นภาพของการป้องกันยาเคมีของพวกเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งนั่นละ ยาจึงแทบจะเข้าไปทำลายมันได้ยากมากๆ มันจึงดื้อยามากๆ

นอกจากนั้น พวกมันยังฉลาดมากพอที่จะแบ่งตัวช้าๆ เมื่อมียาเคมีเข้ามา เพราะยาเคมีส่วนมากจะทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีในช่วงที่มันแบ่งตัว และยังมีการซ่อมดีเอ็นเอตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม

แล้วกัญชาจะฆ่าสเต็มเซลล์ของเซลล์มะเร็งได้อย่างไร

ก่อนไปถึงตรงนั้น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวข้องกันนิดหนึ่ง

สิ่งแรก คือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งระบบนี้เราพอจะเข้าใจมาบ้างแล้ว แต่ที่จะย้ำในบทความนี้ คือ ระบบนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับทุกๆเซลล์ อยู่ในวัฎจักรของการก่อเกิดเซลล์ตั้งแต่ต้นจนจบ ก็หมายถึงว่า ระบบนี้อยู่ในเซลล์ต้นกำเนิดของทุกๆเซลล์ด้วย ซึ่งก็รวมเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งเช่นกัน

สิ่งที่สอง คือ ระบบการส่งสัญญานของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งหนึ่งในระบบการส่งสัญญานที่เรานำมาใช้ในการหวังทำลายเซลล์ต้นเกิดมะเร็ง คือ Targeting key signalling cascades

ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การยับยั้ง Hedgehog pathway ซึ่งพบว่า เมื่อมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องมากเกินไป จะทำให้เซลล์มะเร็งมีการเติบโตและแพร่กระจาย

แล้วกัญชาละ เกี่ยวอย่างไร

เราค้นพบว่า สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สามารถยับยั้งการทำงานของระบบ Hedgehog pathway ที่อยู่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งได้ และน่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปให้เห็นภาพ คือ ในอดีตที่เราสู้กับเซลล์มะเร็ง เราสู้บนการวางแผนกับระดับพลทหาร ซึ่งทำอย่างไรก็ยังไม่อาจชนะสงครามได้ และในอนาคตเรากำลังวางแผนสู้กับระดับจอมทัพของพวกมัน ซึ่งต้องใช้กลยุทธิ์ที่แตกต่างออกไป นั่นเอง

ซึ่งสารในกัญชา ก็เป็นหนึ่งในอาวุธที่จะมีการพัฒนาเพื่อไปสู้กับเซลล์มะเร็งแบบมุ่งเป้าไปที่ระดับนายพลของพวกมัน ไม่ใช่แค่ระดับพลทหารที่ยาเคมีทำอยู่แบบนี้

อ้างอิงจาก

Developmental pathways associated with cancer metastasis:Notch, Wnt, and Hedgehog Cancer Biol Med 2017

Endocannabinoids are conserved inhibitors of the
Hedgehog pathway PNAS 2015

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

ในอดีตเรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า สูบกัญชาแล้วสมองเสื่อม แต่ในปัจจุบัน การค้นพบทางการศึกษาวิจัย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องคิดใหม่ เพราะว่า

การค้นพบระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในสมอง ทำให้มีการค้นพบบทบาทของระบบนี้ในสมองอย่างมากมาย และเนื่องจากระบบนี้มันควบคุมแทบจะทุกส่วนของสมอง ตั้งแต่สมองส่วนหน้า ส่วนข้าง ส่วนท้าย แกนสมอง เป็นต้น

จึงทำให้ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มีบทบาทอย่างมากในทางการแพทย์ และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ หรือ ขยายขอบเขตการทำการศึกษาวิจัย เช่น ศึกษาวิจัยการฟื้นฟูเซลล์สมอง หลังจากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุทำให้เซลล์สมองกระทบกระเทือน หรือ ในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน เป็นต้น

จากภาพประกอบ เราจะเห็นว่า การกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 หรือ CB2 ที่อยู่ในสมอง สามารถทำให้สมองได้รับการปกป้องจากอันตรายที่เกิดขึ้นในเซลล์สมองได้ เช่น

ช่วยลดการอักเสบในสมอง

ช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอักเสบในสมอง

ช่วยลดสารอนุมูลอิสระในสมอง

ช่วยให้เซลล์สมองมีการฟื้นตัว

นอกจากนั้น ยังพบว่า การทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ยังช่วยปรับการทำงานของสารสื่อประสาทที่สำคัญๆในสมองด้วย เช่น สารสื่อประสาทโดปามีน สารสื่อประสาทกาบา (gamma-aminobutyric acid) และสารสื่อประสาทกลูตาเมต เป็นต้น

ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้เกี่ยวข้องทั้งโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคลมชัก เป็นต้น

ดังนั้น สารไฟโตแคนนาบินอยด์ กับ การทำลายสมอง อาจต้องดูเป็นกรณีไป แต่สำหรับงานวิจัยที่ศึกษา มักพบว่า ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ อาจทำให้เกิดประโยชน์ต่อเซลล์สมองได้ และนำไปสู่การใช้ดูแลรักษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในสมองได้

และตามข้อมูลที่ผมมี สาร CBD หรือ สูตร CBD เด่น มี สาร THC น้อย น่าจะได้ประโยชน์ และเหมาะสมกับผู้สูงอายุครับ

เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับกัญชา กัญชง และระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ในโรคต่างๆ มากกว่า 100 เรื่อง ด้วยการสั่งซื้อหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง จำนวน 611 หน้า พิมสี พร้อมภาพประกอบ

และพร้อมเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ ในราคา 999 บาท สั่งจองอินบอค หรือ แจ้งได้ที่ไลน์ชื่อ Pharmalogger ได้เลยครับ

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The emerging functions of endocannabinoid signaling during CNS development. Trends Pharmacol Sci. 2007;28:83–92.

Formation and inactivation of endogenous cannabinoid anandamide in central neurons. Nature. 1994;372:686–91.

Signal transduction of the CB1 cannabinoid receptor.
J Mol Endocrinol. 2010;44:75–85.

Involvement of cannabinoid receptors in the regulation of neurotransmitter release in the rodent striatum: a combined immunochemical and pharmacological analysis. J Neurosci. 2005;25:2874–84.

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

การค้นพบระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในตับ ทำให้เริ่มมีการค้นพบถึงแนวทางและคำตอบของการใช้กัญชา กัญชง ระยะยาวอย่างไรให้ปลอดภัย

ก่อนอื่นต้องแยกคนที่ตับปกติออกไปก่อนนะครับ เดี่ยวโอกาสหน้าจะเขียนข้อมูลอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ ผมขอโฟกัส สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือ ตับมีความผิดปกติ แต่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชา กัญชง

เมื่อตับมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะมีการแสดงออกของตัวรับ CB1 ที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีจำนวนตัวรับ CB1 ในตับเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติที่ว่า จะขอตัดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับออกไปนะครับ เพราะว่า การกระตุ้น CB1 อาจได้ประโยชน์

ความผิดปกติในที่นี้ที่มีการศึกษามาก คือ ไขมันพอกตับ ทั้งจากแอลกอฮอร์ alcohol-induced
liver disease (ALD) และ ไม่ใช่แอลกอฮอร์ non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) รวมทั้ง ภาวะตับอักเสบ เป็นต้น

หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้าคุณกินเหล้า และอ้วนลงพุง มีไขมันพอกตับ จะใช้กัญชา กัญชง ให้ปลอดภัย ควรใช้กัญชา กัญชง แบบสารสกัดรวม หรือ Fullspectrum

เพราะว่า แบบสารสกัดรวม มีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ที่ยับยั้งการทำงานของตัวรับ CB1 อยู่ด้วย

ถ้ามีการใช้สาร THC สูงๆ หรือ ปริมาณสูงๆ จะพบว่า ในระยะยาวจะนำไปสู่การทำลายตับได้ ตามกลไกในภาพประกอบ

เช่น ทำให้พังผืดเกิดขึ้นที่ตับมากยิ่งขึ้น

ทำให้มีการผลิตไขมันแล้วทำให้ไขมันแทรกในตับมากยิ่งขึ้น

เพิ่มการอักเสบของเซลล์ตับมากยิ่งขึ้ง

รวมทั้งหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเดิดขึ้นที่ตับมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า การออกฤทธิ์แบบยับยั้งตัวรับ CB1 (CB1 antagonist) และ การออกฤทธิ์แบบกระตุ้นตัวรับ CB2 (CB2 agonist) เป็นแนวทางที่จะใช้ในความผิดปกติของตับที่กล่าวมาข้างต้น

ซึ่งแน่นอนว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ในระยะยาว โดยเฉพาะสาร THC มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับในระยะยาวได้ โดยเฉพาะคนที่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือ คนอ้วน หรือ คนที่มีไขมันพอกตับ

และย้ำอีกครั้งนะครับว่า อันตรายเกิดขึ้น เมื่อมีการใช้สารเดี่ยวๆนะครับ ไม่ได้หมายถึง กัญชา กัญชง เดี๋ยวจะมีการเข้าใจผิดกัน

ซึ่งการใช้แบบสารสกัดรวมนี้ เป็นทิศทางที่การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ต่างชาติกำลังให้ความสำคัญ

ยกเว้น ต่างชาติที่ทำธุรกิจยานะครับ ต้องแยกออกจากกัน ระหว่างต่างชาติที่ค้าขายยาทางการแพทย์ กับ ต่างชาติที่ค้นคว้าเพื่อนำกัญชา กัญชง มารักษาสุขภาพจริงๆ

สรุป ไขมันพอกตับ ชอบกินเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือ อ้วนลงพุง จะใช้กัญชา เน้น สารสกัดรวม หรือ ถ้าไม่ได้ ก็เน้น สาร CBD เด่น ระวังการใช้สาร THC สูง ในระยะยาว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The endocannabinoid system as a key mediator during liver diseases: new insights and therapeutic openings. Br J Pharmacol 2011;163:1432 1440.

CB2 receptors as new therapeutic targets during liver diseases. Br J Pharmacol 2008;153:286–289.

Paracrine activation of hepatic CB(1) receptors by stellate cell-derived endocannabinoids mediates alcoholic fatty liver. Cell Metab 2008;7: 227–235.

CB1 cannabinoid receptor antagonism: a novel strategy for the treatment of liver fibrosis. Nat Med 2006;12:671–676.

Beneficial paracrine effects of cannabinoid receptor 2 on liver injury and regeneration. Hepatology 2010;52:1046–1059.

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบมากขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุ ยิ่งปัจจุบันสังคมโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เฉพาะประเทศไทย จำนวนผุ้สูงอายุเข้าเข้าหลัก 10 ล้านคนไปแล้ว

และยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก ที่เข้าใจว่า ภาวะกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกพรุน จะแก้ไขได้ด้วยการให้ผู้สูงอายุรับประทานแคลเซียม

และยิ่งงานวิจัยหลังๆออกมาบอกว่า การรับประทานแคลเซียมที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและเส้นเลือดที่มากขึ้นได้

อธิบายให้เห็นภาพ ดังนี้ แคลเซียมก็เปรียบเสมือน ผงปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง และแน่นอน การจะทำให้ตึกหรือกำแพงมีความแข็งแรง ไม่ได้ขึ้นกับการมีผงปูนที่มาก แต่ยังขึ้นกับ ทราย น้ำ หรือ หิน ร่วมด้วย ที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม

กระดูกของมนุษย์เช่นกัน การเติมแต่แคลเซียม ไม่ได้ทำให้กระดูกแข็งแรงเสมอไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฮอร์โมน เป็นต้น

ปัจจุบันมีการค้นพบบทบาทของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์กับโรคกระดูกพรุน

ซึ่งมีการค้นพบว่า ในภาวะกระดูกพรุน มีการแสดงออกของตัวรับ CB1 และ TRPV1 ที่มากขึ้น แต่การแสดงออกของตัวรับ CB2 กลับมีไม่มาก

และเพื่อทำการศึกษาลงไปอีกก็พบว่า การกระตุ้นของตัวรับ CB1 และ TRPV1 เป็นการไปกระตุ้นกระบวนการสลายของกระดูก หรือ ที่เรียกว่า Osteoclasts ตามภาพประกอบ คือ OCs

ทำให้เกิดการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จนในที่สุดทำให้กระดูกพรุนได้

ส่วนการกระตุ้นตัวรับ CB2 จะเป็นการไปยับยั้งการทำงานของกระบวนการสลายกระดูก หรือ Osteoclasts หรือ ไปยับยั้งการทำงานของพวก CB1 และ TRPV1 นั่นเอง

ซึ่งการค้นพบนี้ ทำให้เข้าใจและเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกพรุนเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนับวันจะพบผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น และยังไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในกัญชา กัญชง ที่มีคุณสมบัติต้านการทำงานของตัวรับ CB1 ก็จะเป็นสารในตระกูล CB ซึ่งสาร CBD ก็มักจะมีการพูดถึงบ่อยที่สุด

ฉะนั้น สาร CBD ถ้าใครติดตามข้อมูลผมมา จะพอทราบว่า นี่คือ สารที่เกิดมาเพื่อสังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องกระดูก แล้ว ยังแก้ปัญหาเรื่องการปวด และ การนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาของผู้สูงอายุทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ปล. ไม่ให้ปลูกกัญชา ให้ปลูกกัญชง ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้วครับ ถ้าจริงใจในการให้ประชาชนเข้าถึงสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่มีบทบาทต่อร่างกายอย่างมหาศาล

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The endovanilloid/endocannabinoid system in human osteoclasts: Possible involvement in bone formation and resorption. Bone 2009, 44, 476–484.

CB(2) and TRPV(1) receptors oppositely modulate in vitro human osteoblast activity.Pharmacol. Res. 2015, 99, 194–201.

Peripheral cannabinoid receptor, CB2, regulates bone mass. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 2006, 103, 696–701.

Role of cannabinoids in the regulation of bone remodeling. Front. Endocrinol. 2012, 3,136.

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

เมื่อวันก่อนผมมีโอกาสนั่งคุยกับนักธุรกิจด้านการตลาด ที่ดูแลตลาดยาโดยเฉพาะ ซึ่งก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เกี่ยวกับประเด็น กัญชา 80 ขวด จากกว่าหมื่นขวดที่ผลิตได้ ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขออกมาบอกว่า ไม่ค่อยมีการสั่งจ่ายกัน

ซึ่งผมของรวบรัดบทสรุปให้ดังนี้ คือ

การจะให้ยาตัวใดตัวหนึ่ง เข้ามาในตลาดและเป็นที่นิยม จนสามารถมีการใช้ได้อย่างมหาศาลนั้น

แน่นอน งานวิจัยก็ต้องมี ซึ่งตรงนี้ผมขอข้าม เพราะจะยาวไป

ยาใหม่จะถูกใช้หรือไม่ใช้ ต้องถามว่า ใครคือ ผู้มีอิทธิพลในการสั่งจ่าย หรือในภาษาทางการตลาด เรียกว่า Influencer

ในระบบการแพทย์แบบปัจจุบัน Influencer คือ ระดับอาจารย์หมอ อาจารย์เภสัช อาจารย์ของอาจารย์ เป็นต้น นั่นละ

เพราะถ้าคนเหล่านี้เอาด้วย บุคลากรการแพทย์ระดับเด็กๆก็กล้าจะเอาด้วย แต่ถ้าระดับบนไม่เอาด้วย หมอเด็กๆ เภสัชกรเด็กๆ ก็ไม่กล้าขยับ

เหมือนเวลาที่ยาใหม่จะเข้าตลาด ทำไมการตลาดจึงมุ่งเป้าไประดับอาจารย์ของคนเหล่านี้

ก็เพราะว่า ถ้าอาจารย์สั่งจ่ายปุ๊บ ระดับเด็กน้อยก็กล้าจะจรดปากกาสั่งจ่ายตามด้วย

ทีนี้ย้อนกลับมา ที่ทำไมกัญชาถึงใช้แค่ 80 ขวด

ถ้าเข้าใจประเด็นข้างต้น ก็จะไม่แปลกเลยว่า ทำไมไม่จ่ายกัน

และยังมีข้อยุ่งยากอีกมาก ซึ่งสำคัญ เช่น สารสกัดจากกัญชา กัญชง ยังไม่มีตัวตนในคู่มือการรักษาทางการแพทย์ใดๆในประเทศไทย (เท่าที่ทราบ)

ขยายความสำหรับคนทั่วไปเพิ่มอีกหน่อย

ทุกโรค จะมีคู่มือการรักษาทางการแพทย์ มีไว้สำหรับ เป็นเอกสารอ้างอิง เวลาจะวินิจฉัยว่า ผูัป่วยป่วยเป็นโรคอะไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร จะเริ่มด้วยยาตัวไหนก่อนหลัง เป็นต้น

เช่น คู่มือการรักษาโรคเบาหวาน คู่มือการรักษาโรคไต เป็นต้น

ซึ่งสารสกัดในกัญชา กัญชง ยังไม่มีศักดินาเข้าไปอยู่ในคู่มือใดๆในระดับนี้เลย

นี่จึงบอกว่า ทำไมกัญชาหมื่นขวดที่ผลิตกันมา จึงมีการใช้จริงน้อยมาก

ทางออกนะเหรอ

มองกัญชา กัญชงไม่ใช่ยาเคมีในระบบการแพทย์แผนปัจจุบันสิ แล้วขยับไปอยู่ในการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย โดยไม่ต้องไปตีกรอบให้พวกมันว่า ต้องเป็นตำรายาไทยเท่านั้น

ก็หมื่นขวดที่ผลิตขึ้นมานี่ละ

แล้วให้บุคลากรทางแพทย์แผนไทย แสดงบทบาทออกมา เพื่อให้แสดงศักดิ์ศรีของวิชาชีพออกมา ที่ให้ประชาชนเห็นถึงบทบาท

ก็หวังว่า ท่านรัฐมนตรีสาธารณสุข จะไม่ถูกนักวิชาการใกล้ตัว ขุดหลุมแล้วพากัญชา กัญชง เดินลงเหวไป เพราะไม่แน่ว่า ถ้าวางระบบผิด ครั้งหน้าท่านไม่ได้เข้ามาดูแลตรงนี้ ผมว่า มันจะเสียเวลา และเสียความตั้งใจของท่านเปล่าๆ

เหตุผลเพราะอะไร ก็ย้อนกลับไปอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้นใหม่ครับ

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

เป็นคำถาม ที่ผมได้รับประจำ เพราะถ้าขึ้นชื่อว่า สมุนไพร อาหารเสริม วิตามิน คนในประเทศนี้จะถูกยัดเยียดความเชื่อผิดๆที่ว่า ถ้ากินแล้วจะทำลายตับไต เข้ามาไว้ในหัวตลอดเวลา

ก่อนจะไปถึงว่า จะใช้กัญชา กัญชง อย่างไร มาว่ากันถึง ธรรมชาติของไตกับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์กันก่อน

บริเวณไต ทั้งท่อไตส่วนต่างๆ และบริเวณที่ใช้ในการกรองของเสียและแร่ธาตุต่างๆ จะมีส่วนประกอบตัวรับ CB1 และ CB2 กระจายตัวอยู่ เพื่อควบคุมการทำงานของไต

แต่จากการศึกษาลึกลงไปพบว่า ตัวรับ CB1 จะมีปริมาณมากกว่า หรือ หนาแน่นมากกว่า

โดยเฉพาะเส้นเลือด 2 กลุ่มเส้นหลัก ที่วิ่งเข้าไปที่ไต และ วิ่งออกจากไต ซึ่งก็คือ เส้นเลือด afferent arterioles และ เส้นเลือด efferent arterioles ตามลำดับ

เส้นเลือดนี่ละ ที่เข้ามามีบทบาท ที่อาจจะนำไปสู่การกำหนดรูปแบบของการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา หรือ กัญชง

เพราะอะไรนะเหรอ

เพราะว่า มีการศึกษาพบว่า การกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 ที่อยู่ในเส้นเลือด จะทำให้เส้นเลือดมีการขยายตัวหรือหดตัวได้ ซึ่งการที่เส้นเลือดสองเส้นที่ไตหดหรือขยายตัวนี่ละ ทำให้การทำงานของไตลดลง เพราะเลือดไปไหลเวียนเข้าออกที่ไตได้น้อยลง หรือ ความดันในเส้นเลือดไตลดลง

ซึ่งอาจจะนำไปสู่ผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตไม่ดีอยู่แล้ว ถ้าเส้นเลือดที่ไตถูกกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 มากจนเกินไป

พอมาถึงจุดนี้ เราจะเห็นว่า การเลือกใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ มันไม่ใช่แค่ การมีน้ำมันกัญชา กัญชง อย่างไรก็ได้อยู่ในมือ แล้วใช้ๆกันไป

แต่เราสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเองได้ตั้งแต่แรก

ซึ่งกรณีนี้ ถ้าผู้ที่จะใช้ มีการทำงานของไตที่ไม่ดี หรือ เป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้ว การหลีกเลียงการใช้น้ำมันกัญชา ที่มีสาร THC สูงๆ จึงน่าจะหลีกเลี่ยง เพราะสาร THC กระตุ้นตัวรับ CB1 ได้ดี ควรเลือกใช้น้ำมันกัญชาในรูปแบบที่ THC ไม่มาก

หรือถ้ามีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรติดตามการทำงานของไต สังเกตการปัสสาวะของตัวเองด้วย ว่า น้อยลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะอาจเป็นสัญญานที่อาจเกิดผลเสียที่ไตเกิดขึ้น เป็นต้น

ฉะนั้น ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง ระวังสูตรที่สาร THC สูงๆด้วยนะครับ เพราะผมเจอมาหลายรายแล้ว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Cannabinoid receptors in the kidney. Curr Opin Nephrol Hypertens 25: 459 –464, 2016.

Cannabinoid receptor 2 expression in human proximal tubule cells is regulated by albumin independent of ERK1/2 signaling. Cell Physiol Biochem 32: 1309 –1319, 2013.

Role for cannabinoid receptors in human proximal tubular hypertrophy. Cell Physiol Biochem 26: 879 –886, 2010.

Overactive cannabinoid 1 receptor in podocytes drives type 2 diabetic nephropathy. Proc Natl Acad Sci USA 111: E5420 –E5428, 2014.

Expression of cannabinoid receptors in human kidney. Histol Histopathol 25: 1133–1138, 2010.

 

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภาพประกอบที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ทำให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะมีการศึกษาวิจัย เพื่อหาแนวทางในการกำจัดเซลล์มะเร็ง

ทั้งการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง แบบเดี่ยวๆ และร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือ แม้แต่การผ่าตัด

เพราะทุกคนทราบดีกว่า การรักษามะเร็ง ไม่ได้มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีสุด

มะเร็งใช้หลากหลายกลไก และช่องทางในการพัฒนาเผ่าพันธุ์ของพวกมัน ฉะนั้น อาวุธที่จะเข้าไปทำลายพวกมัน ก็ต้องมีความหลากหลายเช่นกัน ทั้งอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ ก็ต้องกระหน่ำเข้าไป

ฉะนั้น ข้อถกเถียงที่ว่า กัญชา กัญชง ห้ามใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆในโรคมะเร็ง ที่มักมีการพูดถึงนั้น อาจต้องเริ่มทบทวนใหม่ในระดับการรักษาแบบจริงจัง

ถึงแม้จะบอกว่า การศึกษาวิจัยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะรักษามะเร็งได้ไหม แต่ยาเคมีที่ใช้กัน ก็ไม่ได้รักษาคนไข้มะเร็งหายทุกรายไป

ซึ่งบางราย บางกรณี การประมวลข้อมูลที่ต้องใช้สมองใช้ปัญญา ก็น่าจะพิจารณาได้ ไม่ใช่แค่ท่องจำมาว่า ไม่มีระบุในแนวทางการรักษา ก็เลยขังคนไข้ให้ตายไปกับการรักษาเดิมๆ อาวุธเดิมๆ

แต่กว่าจะไปถึงจุดที่กัญชา กัญชง ใช้ได้แบบจริงๆนั้น อาจต้องมีอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง เพราะ ในการแพทย์ ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษา มันยังมีผลประโยชน์มหาศาลกับธุรกิจยาเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

หรือไม่ เราก็อาจจะไม่เคยได้ใช้กัญชา กัญชง กับโรคมะเร็งเลยในการแพทย์แบบแผนปัจจุบัน อาจต้องหันไปพึ่งการแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์แผนไทย

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Radiotherapy plus concomitant and adjuvant temozolomide for glioblastoma. N Engl J Med, 352 (10) (2005), pp. 987-996

Adjuvant chemotherapy in the treatment of high grade gliomas. Cancer Treatment Reviews Volume 31, Issue 2, April 2005, Pages 79-89

Gemcitabine/cannabinoid combination triggers
autophagy in pancreatic cancer cells through
a ROS-mediated mechanism. Cell Death and Disease (2011) 2, e152