อาหารไม่ย่อยทำอย่างไรดี…สมุนไพรช่วยได้หรือไม่

...สมุนไพรช่วยได้หรือไม่

…สมุนไพรช่วยได้หรือไม่

🤢อาหารไม่ย่อยทำอย่างไรดี
…สมุนไพรช่วยได้หรือไม่

📂 มีรายงานว่า คนที่ประสบปัญหาอาการแน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย มีมากถึงหลักล้านคนทั่วโลก สาเหตุอาจเกิดได้จากแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ ซึ่งยาสามัญประจำบ้านที่คุ้นเคยกันส่วนใหญ่ ได้แก่ ยานํ้าขับลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง ที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) มีคุณสมบัติลดภาวะการเป็นกรดในกระเพาะอาหาร

…กลไกของยาน้ำชนิดนี้จะปรับค่า pH ให้เป็นกลาง ข้อดี คือ ออกฤทธิ์เร็ว แต่มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาการท้องเสียจะเจอได้บ่อยกว่าท้องผูก เป็นต้น รวมทั้ง มีข้อควรระวังเรื่องการใช้ยาลดกรดร่วมกับยาตัวอื่นหลายชนิด เพราะอาจส่งผลให้ยาตีกัน หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคประจำตัวอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาชนิดนี้

“ขมิ้นชัน” เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แน่นจุกเสียดได้ จากกลไกที่เพิ่มการหลั่งสารที่ช่วยปรับสภาพลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เพิ่มการหลั่งเอนไซม์ที่มีผลต่อการย่อย นอกจากนี้ ยังพบว่า ขมิ้นขัน สามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย จากการติดเชื้อ H.pyroli ได้เช่นกัน

…โดยข้อดีของขมิ้นชัน คือ ความปลอดภัยในการใช้ยา ราคายาไม่สูง หาชื้อได้ง่าย ขนาดการรับประทานตามบัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับบรรเทาอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ควรรับประทานยาขมิ้นชันแคปซูล 500 – 1,000 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

🔎…แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างยาน้ำลดกรดกับขมิ้นชันแคปซูล แต่มีงานวิจัยเปรียบเทียบผลในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลันระหว่างขมิ้นชัน กับยาลดกรดแผนปัจจุบันแบบเม็ด โดยพบว่า ขมิ้นชัน มีประสิทธิภาพสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน จากกลไกการสร้างเส้นเลือดในเนื้อเยื่อบริเวณรอยแผล ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ด้วยสาเหตุนี้ ก็ควรเลือกใช้ขมิ้นชันในการรักษาจะเหมาะสมกว่า

⭐️แม้ว่าขมิ้นชันจะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ใช้ได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สามารถรับประทานได้นานถึง 3 เดือนก็ยังปลอดภัย แต่ก็มีรายงานการรู้สึกไม่สบายท้องเล็กน้อย และมีข้อควรระวังสำหรับการใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี ผู้ป่วยที่การแข็งตัวของเลือดมีปัญหา หรือหากมีโรคประจำตัวและมีข้อสงลัยในการรับประทานขมิ้นชัน สามารถสอบถามเภสัชกรก่อนใช้ยาได้เช่นกัน

📰 ข้อมูลจากอภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนพฤษภาคม 2563 คอลัมน์พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์

SHARE NOW

Facebook Comments