“ชะพลู” ผักเป็นยา ลดน้ำตาลในเลือด

“ชะพลู” ผักเป็นยา

สมุนไพรสู้โรค | “ชะพลู” ผักเป็นยา ลดน้ำตาลในเลือด

🍃สมุนไพรสู้โรค | “ชะพลู” ผักเป็นยา ลดน้ำตาลในเลือด


ชะพลู หรือช้าพลู หรือทางภาคอีสานเรียกว่า ผักอีเลิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper sarmentosum Roxb. เป็นพืชในวงศ์เดียวกับดีปรี หรือพริกไทย มีกลิ่นและน้ำมันหอมละเหยเฉพาะตัว เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก มีฤทธิ์ทางยามากมาย เรียกได้ว่าเป็นพืชผักสมุนไพรใกล้ตัวที่เราใช้ทำอาหาร ทำห่อหมก ทำผักเคียงกันมานาน และอีกคุณสมบัติเด่นของชะพลู ก็คือ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ
โดยมีงานวิจัยในหนูทดลอง โดยทำให้หนูทดลองเป็นเบาหวาน แล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยให้สารสกัดใบชะพลูด้วยน้ำ (water extract) ในขนาด 0.125 และ 0.25 g/kg และหนูอีกกลุ่มให้ยาแผนปัจจุบัน glibenclamide เป็นยาเทียบ พบว่า สารสกัดที่ขนาด 0.25 g/kg สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่กิน ส่วนสารสกัดขนาด 0.125 g/kg ให้หนูกินติดต่อ 7 วันพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลงได้
อีกการทดลอง คือ การทำให้หนูทดลองเป็นเบาหวาน จากนั้นให้สารสกัดใบชะพลูที่สกัดด้วยน้ำ (water extraction) ที่ความเข้มขน 2% เป็นระยะเวลา 30 วัน เมื่อครบกำหนดได้วัด อัตราส่วนน้ำหนักไตต่อน้ำหนักตัว ค่าการกำจัดโปรตีนครีเอตินีน (creatinine) ค่าการรั่วโปรตีนอัลบูมิน (albumin) จากไต เทียบกับกลุ่มหนูเบาหวานที่ไม่ได้รับยา พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบชะพลู มีการเพิ่มขึ้นของอินซูลินในร่างกาย มีน้ำตาลในกระแสเลือดลดลงและชะลอการเสื่อมของไตจากภาวะน้ำตาลสูงได้
จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า หนึ่งในกลไกการลดระดับน้ำตาลของใบชะพลู ก็คือ การเพิ่มระดับอินซูลินในร่างกาย
นอกจากนี้ ช้าพลูยังมีฤทธิ์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น
▪️ฤทธิ์ในการต้านอักเสบ
▪️ฤทธิ์ขับลม
▪️ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ
▪️ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
▪️ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์
▪️ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย
โดยมีการทดลองนำใบชะพลูสกัดด้วยเมทานอล (Methanol) แล้วนำทดสอบการต้านเชื้อ พบว่าสามารถต้านชื้อ S. aureus เชื้อ S. aureus ที่ดื้อต่อยา Methicillin เชื้อ P. aeruginosa ซึ่งทั้ง 3 เชื้อ เป็นเชื้อก่อโรคให้กับมนุษย์ทั้งสิ้น
การกินช้าพลู ถ้ากินเป็นผัก หรือเป็นอาหารก็มีความปลอดภัย แต่ถ้ากินเป็นยาเพื่อหวังผลในการลดน้ำตาล แนะนำว่าจะต้องสังเกตตนเองถึงอาการน้ำตาล เช่น มีอาการหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมือ มีอาการหวิวๆ เหมือนจะเป็นลมหรือไม่ เพราะนั้นแสดงว่าน้ำตาลในเลือดของคุณกำลังต่ำเกินไป จึงไม่ควรทานช้าพลูนั่นเอง
🔻ขนาดการทานที่แนะนำ
👉🏻แบบชาชง แนะนำ 1 ซอง ต้มน้ำได้สองครั้ง ดื่มเช้าและเย็น
👉🏻ใบสด กินครั้งละ 1-2 ใบ เช้า เย็น
ทั้งนี้ ขนาดในการทานอาจขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ
🚫มีข้อห้ามสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต เพราะใบช้าพลูมีส่วนประกอบของ แคลเซี่ยมออกซาเลท (Calcium oxalate) ซึ่งการกินในปริมาณมากจะไปสะสมที่ไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
🔖ข้อมูลอ้างอิง
1. Hypoglycemic effect of the water extract of Piper sarmentosum in rats เข้าถึงได้จาก https://www.sciencedirect.com/…/pii/S037887419700127X
2. Hypoglycemic effect of the water extract of Smallantus sonchifolius (yacon) leaves in normal and diabetic rats เข้าถึงได้จาก https://www.sciencedirect.com/…/pii/S0378874100003512
3. In vitro screening of five local medicinal plants for antibacterial activity using disc diffusion method เข้าถึงได้จาก https://pdfs.semanticscholar.org/…/711d6f86b50ea16ce820…
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=221
📌 ติดตามอภัยภูเบศรได้ที่
FB : https://www.facebook.com/abhaiherb
IG : https://www.instagram.com/abhaiherb.official/
Line shop : https://lin.ee/53n7oUF
Line คลินิก : https://lin.ee/HGT0wkz
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCtYAMPNpxrb62S3h3agetOQ
TikTok : https://www.tiktok.com/@abhaiherb
Cr.ภาพ istockphoto
#ชะพลู #ช้าพลู #ลดน้ำตาลในเลือด #สมุนไพรอภัยภูเบศร #อภัยภูเบศร

 

SHARE NOW

Facebook Comments