ตัวรับกัญชา เมื่อโดนจับแล้ว ไม่ได้ส่งผลเหมือนกันเสมอไป

ตัวรับกัญชา เมื่อโดนจับแล้ว ไม่ได้ส่งผลเหมือนกันเสมอไป

ตัวรับกัญชา เมื่อโดนจับแล้ว ไม่ได้ส่งผลเหมือนกันเสมอไป

ตัวรับกัญชา เมื่อโดนจับแล้ว ไม่ได้ส่งผลเหมือนกันเสมอไป

ในตัวรับของสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ที่มีลักษณะเส้นๆพาดไปพาดมา 7 ครั้ง ที่ผมเคยเขียนไปแล้วนั้น ในบริเวณของตัวรับ ยังมีพื้นที่แยกย่อยลงไปอีก

ซึ่งพื้นที่หรือโซนที่แยกย่อยลงไปนั้น ยังเป็นจุดสำคัญในการออกฤทธิ์ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ถ้ามีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เข้ามาจับ

ตามภาพประกอบ เราจะเห็นว่า บริเวณตัวรับ CB1 จะมีโซนการจับและออกฤทธิ์อยู่ 2 โซนหลักๆคือ

โซนซ้าย ที่ออกฤทธิ์แบบตรงไปตรงมาเลย ไม่ยับยั้ง (Antagonist) ก็กระตุ้น (Agonist) เป็นต้น ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Full Agonists , Partial Agonists , Neutral Antagonists , Inverse Agonists.

ส่วนโซนขวา ออกฤทธิ์แบบที่ทางการแพทย์ เรียกว่า Allosteric Modulators ซึ่งมีทั้งแบบบวก (Positive) หรือ Positive Allosteric Modulators และผลลบ (Negative) หรือ Negative Allosteric Modulators

นั่นเท่ากับว่า ตัวรับ CB1 ของสารไฟโตแคนนาบินอยด์ มีบริเวณที่จับและให้ผลลออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด 6 บริเวณ คือ Full Agonists , Partial Agonists , Neutral Antagonists , Inverse Agonists , Positive Allosteric Modulators และ Negative Allosteric Modulators

ซึ่งบริเวณเหล่านี้ ไม่ใช่มีเพียงสาร THC หรือ CBD เท่านั้นที่จะมาจับได้ แต่ยังรวมทั้งสารตระกูล THC และตระกูล CB ตัวอื่นๆด้วย เช่น CBN , CBV ,CBC เป็นต้น

แล้วสำคัญอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น เราพบว่า สาร CBD ก็สามารถจับกับตัวรับ CB1 ได้ ไม่ใช่แค่สาร THC ซึ่งสาร CBD จะจับบริเวณที่เรียกว่า Allosteric Modulators ทำให้ตัวรับ CB1 มีการปรับเปลี่ยนรูปร่าง ทำให้บริเวณที่เรียกว่า Partial Agonists ซึ่งเป็นบริเวณที่สาร THC เข้าไปจับ เปลี่ยนไป สาร THC จึงเข้าไปจับไม่ได้

ผลก็คือ ทำให้ฤทธิ์ของสาร THC โดยเฉพาะฤทธิ์ที่ส่งผลลบต่อร่างกาย เกิดขึ้นไม่ได้เต็มที่ เหมือนที่เราเคยได้ยินว่า ควรใช้กัญชาทั้งที่มีสาร CBD และ THC เพื่อจะไม่ได้อาการข้างเคียงมากเกินไปนั่นละ

นี่ละ ส่วนหนึ่งของการอธิบายตามหลักการแพทย์

ฉะนั้น เราจึงเห็นถึงความซับซ้อนในการออกฤทธิ์ ยังไม่นับสารอื่นๆ ที่เข้าไปด้วยเวลาที่เราใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ทั้งส่งเสริมฤทธิ์กัน และคานฤทธิ์กันอย่างสมดุล ตามแบบธรรมชาติของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง ร่างกายจึงได้ประโยชน์เต็มที่ นั่นเอง

อ้างอิงบางส่วนจาก

Pregnenolone Can Protect the Brain from Cannabis Intoxication. Science. 2014 Jan 3; 343(6166): 94–98.

A Cannabinoid CB1 Receptor-Positive Allosteric Modulator Reduces Neuropathic Pain with No Psychoactive Effects. Neuropsychopharmacology volume 40, pages 2948–2959 (2015)

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

SHARE NOW

Facebook Comments