บอระเพ็ด ขมเป็นยา(อายุวัฒนะ)

บอระเพ็ด ขมเป็นยา(อายุวัฒนะ)

บอระเพ็ด ขมเป็นยา(อายุวัฒนะ)

🟢บอระเพ็ด ขมเป็นยา(อายุวัฒนะ)

“บอระเพ็ด” ขึ้นชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น บอระเพ็ดยังมีการใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมสำหรับรักษาโรคในหลายประเทศ โดยเฉพาะแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น…
👉🏻อินโดนีเซีย ใช้เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย ปวดท้อง ลดไข้ รักษาโรคความด้นสูง ลดเบาหวาน
👉🏻มาเลเซีย ใช้เพื่อรักษาเบาหวาน รักษาโรคความดันสูง เป็นต้น
👉🏻รวมทั้งในกัมพูชาและฟิลิปปินส์ก็มีการนำมารักษาโรคที่คล้ายๆ กัน
…ทุกส่วนของบอระเพ็ดสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ ไม่ว่าจะเป็น ใบ ราก เมล็ด ในประเทศไทยนิยมใช้ส่วนเถา นำมาต้มแล้วดื่มรักษาโรค หรือจะนำมาตำให้ละเอียดแล้วละลายกับนํ้าผึ้ง รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากในบอระเพ็ด อาจจะมีส่วนในการป้องกันโรคหัวใจ และโรคทางระบบประสาทได้
🧪นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของบอระเพ็ดต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และลดความดันโลหิต พบว่า…สารออกฤทธิ์ในบอระเพ็ด หลายตัวทำงานร่วมกัน สามารถออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต แต่ในขณะเดียวกันมันก็เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มีผลทำให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น
🔻บอระเพ็ดมีรสขมเย็น แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายนํ้า แก้ร้อนใน เป็นยาขมเจริญอาหาร โดยเอาเถาสดประมาณ 30 กรัม ต้มเคี่ยวกับนํ้า 3 ลิตร จนเหลือ 1 ลิตร แบ่งทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ เมื่อมีไข้
…การลดไข้จากบอระเพ็ด น่าจะเกิดขึ้นจากการไปยับยั้งการสร้างสารเคมีในร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบขึ้น สารเคมีนี้จะกระตุ้นเซลล์ประสาทส่วนปลายในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกเจ็บปวด มีไข้ขึ้น ซึ่งกลไกนี้เอง ตรงกับการนำบอระเพ็ดมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อย แก้อักเสบในตำรายาไทยได้เช่นกัน
🔻สำหรับตำรับยาอายุยืนด้วยบอระเพ็ด ให้นำหัวไพลแก่ๆ 10 บาท เนื้อมะขามเปียก 10 บาท เกลือ 10 บาท บอระเพ็ด 10 บาท พริกไทย 5 บาท นำสมุนไพรทั้งหมดตำให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนชา หรือทำเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทราไทย กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้มีกำลังวังชาดี
⚠️หากรับประทานบอระเพ็ดในขนาดที่สูงติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของการทำงานของตับและไตได้ ดังนั้น คนที่มีปัญหาโรคตับ ตับอักเสบ โรคไต ไม่ควรรับประทาน
🗞ข้อมูลจาก อภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนสิงหาคม 2561 คอลัมน์ พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์
SHARE NOW

Facebook Comments