4 โรคร้าย รักษาได้ด้วยมะเขือพวง มะเขือละคร หมากแข้ง

4 โรคร้าย รักษาได้ด้วยมะเขือพวง มะเขือละคร หมากแข้ง

4 โรคร้าย รักษาได้ด้วยมะเขือพวง มะเขือละคร หมากแข้ง


4 โรคร้าย รักษาได้ด้วยมะเขือพวง มะเขือละคร หมากแข้ง

มะเขือพวง (อังกฤษ: Turkey berry; ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum torvum) เป็นพืชตระกูลมะเขือ อยู่คู่กับคนไทยเรามานาน ทางโคราชเรียก มะเขือละคร ทางอีสาน
เรียก หมากแข้ง แต่ถ้าภาคเหนือเรียก มะแคว้งกุลา ถ้าลงไปใต้เรียก มะแว้งช้าง ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น แกงเนื้อ แกงเขียวหวาน แกงป่าหรือจะเอาไปทำเป็นน้ำพริกก็ไม่เลว ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด แค่พูดขึ้นมาก็รู้สึกอยากกินกันแล้วล่ะสิ แต่นอกจากความอร่อยแล้ว ในมะเขือพวงยังมีสรรพคุณ ต่างๆ ดังต่อไปนี้

ผล มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ คล้ายคลึงกับมะแว้งต้นและมะแว้งเครือ

ราก ใช้แก้เท้าแตกเป็นแผล

ใบ ใช้ห้ามเลือด

ทั้งต้น รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง แก้หืด ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเหงื่อ ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดฟกช้ำจากการทำงานหนัก แก้ไอเป็นเลือด แก้ปวดกระเพาะ แก้ฝีบวมมีหนองและอักเสบ

ทั้งนี้งานวิจัยในปัจจุบันยังบ่งชี้ว่า มะเขือพวง ช่วยในการย่อยอาหารได้ดี ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงมีการนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น สารต่าง ๆ ที่พบในมะเขือพวง ได้แก่

สารทอร์โวไซด์ เอ, เอช (torvoside A, H) เป็นสเตียรอยด์ไกลไซด์ พบในลูกมะเขือ ต้านเชื้อไวรัสเริม และเชื้อ HIV

สารทอร์โวนิน บี (torvonin B) เป็นซาโปนินชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ขับเสมหะ

สารโซลานีน (solanine) เป็นอัลคาลอยด์จากพืชตระกูลมะเขือ โซลานีนเป็นสารที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ที่ไวต่อโซลานีนอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว หรืออาเจียน ถ้าทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วโอกาสที่จะป่วยด้วยสารดังกล่าวนี้ก็จะลดลง

สารโซลาโซนีน และโซลามาจีน (solasonine and solamagine) เป็นไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์ที่พบในพืชตระกูลมะเขือ ในมะเขือพวงบางสายพันธุ์ (มักพบแถบแคริบเบียน) มีปริมาณสารเหล่านี้มาก ผู้ที่ไวต่อสารดังกล่าวถ้ารับประทานมะเขือพวงดิบอาจเกิดอาการของระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทได้โซลาโซดีน (solasodine) เป็นสารที่มีสรรพคุณต้านโรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารโซลาโซดีนมีประสิทธิภาพยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์อันเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง
สรรพคุณในการรักษา 4 โรคร้าย

1. โรคเบาหวาน มีผู้ป่วยโรคนี้หลายคนที่ต้องถูกตัดขา เพราะน้ำตาลในเส้นเลือดสูงมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีผลเสียด้านดื่นๆมมาอีกเพียบ ถ้ายังไม่อยากต้องเสียใจภายหลังต้องเริ่มกินมะเขือพวงตั้งแต่วันนี้

มีการศึกษาวิจัยพบว่า เครื่องดื่มน้ำมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระในเลือดของหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้ ทำให้ไขมันไม่ดี และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ดังนั้น การให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานมะเขือพวงระหว่างการรักษาควบคู่ไปกับทานยาแผนปัจจุบันจะยิ่งช่วยได้มากกว่าเดิม

2. โรคความดันโลหิตสูงและปัญหาเกล็ดเลือด งานวิจัยในแคเมอรูนพบว่า เมื่อนำมะเขือพวงสกัดผสมแอลกอฮอล์มาทดลองกับหนู ปรากฎว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลง พร้อมทั้งยังสามารถหยุดการรวมตัวของเกล็ดเลือดได้ด้วย ดังนั้น การรับประทานมะเชือพวงจึงช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีปัญหาเกล็ดเลือด มีอาการที่ดีขึ้นได้มากขึ้น

3. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากผลไม้พวกเบอร์รี่จะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงแล้ว มะเขือพวงที่เป็นผักพื้นบ้านก็มีสารตัวนี้อยู่สูงเช่นกัน ไม่ต้องไปหาซื้อผลไม้ราคาแพงเลย เพราะแค่กินผักพื้นบ้านก็มีประโยชน์ที่ดีไม่ต่างกัน

โดยในปีพ.ศ. 2551 มีงานวิจัยนำมะเขือ 11 ชนิดในประเทศไทยมาสกัดหาสารต้านอนุมูลอิสระ ผลปรากฎว่า มะเขือพวงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดในบรรดามะเขือทุกชนิด อย่ารอช้าตักมะเขือพวงใส่ปากกันเถอะ

4. แผลในกระเพาะอาหาร ใครที่กำลังป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารจากการทานอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือจากความเครียด เมื่อคุณได้ทานมะเขือพวงไปแล้ว คุณจะไม่ผิดหวังแน่ๆ เพราะ
ในปี 2551 กลุ่มนักวิจัยในประเทศแคเมอรูน ค้นพบว่า มะเขือพวงสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะในมะเขือพวงมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์และไทรเทอร์พีน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากแอลกอฮอล์หรือความเครียดได้นั่นเอง
ไม่น่าเชื่อว่าสมุนไพรเม็ดกลมๆที่มีรสชาติไม่อร่อยถูกปากใครๆสักเท่าไหร่จะมีคุณประโยชน์ที่ยอดเยี่ยมมากขนาดนี้ เวลาที่คุณทานน้ำพริกกะปิหรือแกงไทยๆครั้งต่อไป ก็อย่าเขี่ยมะเขือพวงออกเลยนะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์เน้นๆ ทานมันเข้าไปบ้างเพื่อร่างกายที่แข็งแรงตลอดไป

สมุนไพรของไทยเรานี่ มีแต่ของดีๆ ทั้งนั้น แถมยังราคาถูกมากกว่าผักผลไม้เมืองนอกตั้งเยอะ สรรพคุณก็เหลือล้นกันเลยทีเดียว ใครที่ไม่เคยกินหรือไม่ชอบกิน ก็หันมาลองกินดูสักนิด ค่อยๆฝึกทานไป รับรองว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษแน่ๆ
อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า

“สารเพกตินในมะเขือพวง ช่วยในการดูดซับไขมันส่วนเกินออกจากอาหารได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่บรรพบุรุษของไทย มักจะทำแกงกะทิใส่มะเขือพวง ซึ่งน่าจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจได้”

อย่างไรก็ตาม แม้มะเขือพวงจะเป็นพืชผักที่มีประโยชน์มาก แต่คณะผู้วิจัยก็ยังบอกว่า ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะมีสาร “อัลคาลอยด์” ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ (เข้าทำนองว่า อะไร ๆ ที่เกินประมาณ ก็เกิดอันตรายได้ทั้งนั้น)
ในประเทศต่าง ๆ มีการใช้มะเขือพวงเพื่อใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง เช่น

จีน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอและบำรุงเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ผลแห้งย่างกินแกล้มอาหารบำรุงสายตาและรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย

อินเดีย กินผลเพื่อบำรุงตับ ช่วยบรรเทาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย และช่วยให้ผ่อนคลายง่วงนอน บำรุงตับ ใช้น้ำสกัดจากต้นมะเขือพวงแก้พิษแมลงกัดต่อย ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียใช้ผลอ่อนบำรุงกำลังให้ร่างกาย ผลแห้งหุงน้ำมันเล็กน้อย บดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชา ลดอาการไอและเสมหะ

แคเมอรูน ใช้ผลมะเขือพวงรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ไอเวอรีโคสต์ นำผลมะเขือพวงใส่ซุปและซอสต่าง ๆ

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แนะให้ลองทำน้ำพริกสูตรที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน โดยเครื่องปรุงทั้งหมด คือ หอม กระเทียม พริกหนุ่ม พริกขี้หนูเล็กน้อย มะเขือยาว นำไปปิ้งไฟให้หอม โขลกให้แหลก แล้วเอามะเขือพวงลงไปบุบให้แตก จากนั้นปรุงรสตามชอบ หรือมะเขือพวงจะปิ้งก่อนก็ได้ช่วยเพิ่มความหอม เหมาะกับผู้ป่ายเบาหวาน หรือไม่เป็นเบาหวานก็จัดเป็นเมนูต้านโรคได้

ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ มะเขือพวงมีความเด่นในสารอาหารหลายชนิด เช่น มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหารสูง เส้นใยอาหารที่พบคือกลุ่มแพกติน ซึ่งเป็นเส้นใยละลายน้ำ ช่วยเคลือบผนังลำไส้ ดูดซับไขมันส่วนเกินจากอาหาร ลดการดูดซึมสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ดึงน้ำไว้จึงช่วยให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายได้ง่าย จึงป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวารได้ กระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ

บทบาทต่อการลดเบาหวานนั้น มีการค้นพบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่ต้องนำไปทำเป็นผลแห้งก่อนแล้วนำมาชงดื่ม ช่วยลดไขมันได้ด้วย การทำแห้งจะช่วยฆ่าฤทธิ์ของอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และมีอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวถ้าใช้ติดต่อเป็นเวลานาน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก health.sanook.com และ thaijobsgov.com
ขอบคุณที่มา : รักษ์สุขภาพโดยวิถีธรรมชาติ

SHARE NOW

Facebook Comments