ยอดและใบตำลึงใช้กินเป็นผักสด

ยอดและใบตำลึงใช้กินเป็นผักสด

ยอดและใบตำลึงใช้กินเป็นผักสด

ยอดและใบตำลึงใช้กินเป็นผักสด หรืออาจนำไปต้มหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก และใช้ปรุงในแกงต่างๆ เช่น แกงจืด แกงเลียง ต้มเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยวหมูตำลึง นำไปผัดตำลึงไฟแดง หรือใส่ในไข่เจียว ผลอ่อนของตำลึงกินกับน้ำพริกคล้ายยอดสะเดา หรือดองกินคล้ายแตงดองได้ เนื้อในผลสุกของตำลึงมีรสอมหวาน

นอกจากประโยชน์ด้านอาหารแล้ว ตำลึงยังช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (เถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้ ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงและน้ำผึ้งอย่างละครึ่งถ้วย นำมาปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก หรืออาจจะนำใช้เป็นยารักษาตาไก่ได้อีกด้วย
ส่วนสรรพคุณทางยาของตำลึงนั้น ตามตำรายาไทยระบุว่า ตำลึงเป็นยาเย็นดับพิษร้อน เถา รสจืดเย็น เป็นยาเย็นดับพิษ แก้ตาช้ำ ปวดตา ใช้ถอนพิษ แก้ฝี แก้โรคตาต่างๆ ใบ มีรสเย็นแก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้ แก้เริมช่วยย่อยอาหาร แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคตา รักษาเลือดออกตามไรฟัน แก้โลหิตจาง ใบตัวผู้ ใช้ผสมยาเขียว แก้ไข้ แก้พิษจากขนพืชหรือสัตว์ต่างๆ ราก ลดความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด แก้พิษ แก้โรคตา ผล แก้เจ็บเส้น ลิ้นเป็นแผล แก้ฝีแดง ทั้งต้น มีรสเย็น แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัวใจ
SHARE NOW

Facebook Comments