“ย่านาง”ราชินีแห่งสมุนไพร”ลดความดัน-ต้านมะเร็ง”

“ย่านาง”ราชินีแห่งสมุนไพร”ลดความดัน-ต้านมะเร็ง”

 

 

“ย่านาง” ที่ขึ้นตามริมรั้วใช้บำบัดรักษาโรคต่างๆ มาแต่โบราณ จนได้ฉายา “ราชินีแห่งสมุนไพร” ปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลายในแพทย์ทางเลือก

เป็นไม้เถาเลื้อย มีชื่อภาษาอังกฤษ Bamboo grass ภาคเหนือเรียก จ้อยนาง ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว และภาคใต้เรียก ยาดนาง

ต้น     เป็นเถาเลื้อยได้ไกล 2-3 เมตร รากมีขนาดใหญ่

ใบ    เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่ ปลายเรียว ใบยาว 5-10 ซม.

ดอก    สีเหลือง ออกตามซอกใบเป็นช่อยาว ช่อหนึ่งๆมี 3-5 ดอก

ผล    กลมรีเล็ก สีเขียว เมื่อแกเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ

ขยายพันธุ์     เพาะเมล็ด ชอบความชื้น แสงแดดเต็มวัน

สรรพคุณทางยา : ราก – แก้ไข้ เช่น ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้ทับระดู และอาการเบื่อเมา 

 


รากเป็นหนึ่งในส่วนประกอบตำรับยา 5 ราก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาสมุนไพร รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะเริ่มแรกได้ โดยนำรากแห้งต้มกับน้ำครั้งละ 1 กำมือ แล้วดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

ใบ – เป็นส่วนที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคมากที่สุด เพราะมีฤทธิ์เย็น มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในตำราสมุนไพรจัดให้ย่านางเป็นยาอายุวัฒนะ มีประโยชน์ดังนี้ : 


ป้องกันและบำบัดโรคหัวใจ,ป้องกันและลดการเกิดโรคมะเร็ง,ภูมิแพ้ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ,แก้เกร็ง ชัก ตะคริว,เหงือกอักเสบเรื้อรัง,โรคเบาหวาน โดยลดน้ำตาลในเลือด,ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย,ลดปวดตามกล้ามเนื้อ
ป้องกันเกิดโรคริดสีดวงทวาร,ตับอักเสบ,ไทรอยด์เป็นพิษ,เกาต์,ความดันโลหิตสูง และสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ จะทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง


เถา – ช่วยลดความร้อนและแก้พิษตานซาง และยังมีข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุว่า สามารถช่วยต้านมาลาเรีย และยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ได้

คุณค่าทางโภชนาการ: ใบย่านาง 100 กรัม มีคุณค่าดังนี้ พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่,เส้นใย 7.9 กรัม,แคลเซียม 155 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม,เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม,วิตามินเอ 30625 มิลลิกรัม, 


วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม,วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม,ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม,วิตามินซี 141 มิลลิกรัม, โปรตีน 15.5%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.29%,แคลเซียม 1.42% และแทนนิน 0.21%

ประโยชน์ด้านอื่นๆ : ชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำและนุ่มชุ่มชื้น และนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะเมนูที่มีส่วนผสมของหน่อไม้ เพราะน้ำใบย่านางช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้

 

 

 

 

วิธีทำน้ำใบย่านาง : ส่วนประกอบ ใบย่านาง 10-20 ใบ (ตามความเข้มข้นที่ต้องการ)/ใบเตย 3 ใบ/บัวบก 1 กำมือ/หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น/ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ/ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ/ว่านกาบหอย 5 ใบ 
-นำใบสมุนไพรต่างๆตัดเป็นชิ้นเล็ก นำไปโขลกหรือปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ (ปั่น 30 วินาที) เสร็จแล้วนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที

 

 


คำแนะนำ : บางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว ให้นำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่ม หรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่นๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น น้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลล์บลูบอยก็ได้

  • ควรดื่มน้ำย่านางสดๆก่อนอาหารหรือตอนท่องว่าง ครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • ควรดื่มแต่พอดี หากรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม ลดความเข้มข้นของสมุนไพรลง
  • ควรดื่มทันทีที่ทำเสร็จ เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว แต่นำมาแช่ตู้เย็นได้และควรดื่มภายใน 3 วัน
SHARE NOW

Facebook Comments