สรรพคุณของบอระเพ็ดหลักๆ

สรรพคุณของบอระเพ็ดหลักๆ

สรรพคุณของบอระเพ็ดหลักๆ

บอระเพ็ด จัดเป็นไม้เถาอยู่ในวงศ์ Menispermaceae และนอกจากชื่อบอระเพ็ดแล้ว ในบ้านเรายังเรียกบอระเพ็ดในอีกหลาย ๆ ชื่อ เช่น ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เจตมูลหนาม หรือจุ้งจาลิงตัวแม่

สรรพคุณของบอระเพ็ดหลักๆ
แก้ไข้
เถาบอระเพ็ดมีรสขมจัด สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทุกชนิด โดยใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
ช่วยเจริญอาหารแก้เบื่ออาหาร
ใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ หรือบดเป็นผง ทำให้เป็นลูกกลอนรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า, เย็น
บำรุงกำลัง
ต้นบอระเพ็ดสามารถนำมาต้มเป็นยาขมดื่มบำรุงกำลัง บำรุงธาตุได้ โดยใช้ต้นบอระเพ็ดล้างสะอาด ประมาณ 2 คืบครึ่ง ตำให้แหลกแล้วมาคั้นเอาแต่น้ำไปดื่มบำรุงกำลัง หรือจะต้มตำรับเดียวกับยาลดไข้ก็ได้เช่นกัน
รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
ในใบบอระเพ็ดมีสารที่ช่วยรักษาโรคผิวหนัง โดยเฉพาะอาการผดผื่นคัน โดยนำใบบอระเพ็ดล้างสะอาด ตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกตามจุดที่มีผื่นคัน หรือบริเวณผิวที่มีการอักเสบ เพราะสารในใบบอระเพ็ดมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบได้
แก้ฝีแก้ฟกช้ำ
ใช้ใบบอระเพ็ดตำให้ละเอียดแล้วมาพอกฝี หรือแก้ฟกช้ำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เป็นยาอายุวัฒนะ
ส่วนทั้ง 5 ของบอระเพ็ด คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล นำมาปรุงยาอายุวัฒนะได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก แก้ร้อนใน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ บำรุงเลือดลม และแก้ไข้จับสั่น เป็นต้น
ลดน้ำตาลในเลือด
บอระเพ็ดสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยภาวะอ้วนลงพุงที่รับประทานแคปซูลผงบอระเพ็ด ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือยาหลอกเป็นเวลา 2 เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองก่อนรับประทานบอระเพ็ด
บอระเพ็ด โทษและข้อควรระวังก็มีนะ
แม้สรรพคุณบอระเพ็ดจะมีพอตัวแต่หากกินไม่ระวังก็อาจเป็นโทษต่อร่างกายได้ดังนี้
หากกินบอระเพ็ดเป็นระยะเวลานาน (ติดต่อกัน 8 สัปดาห์) อาจก่อผลเสียต่อตับ
อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีภาวะเอนไซม์ตับบกพร่อง หรือเป็นโรคตับ โรคไต
SHARE NOW

Facebook Comments