สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Entada phaseoloides (Linn.) Merr.
ชื่อวงศ์ Mimosaceae
เป็นพืชจำพวกเถา มีฝักขนาดใหญ่มาก ฝักแบนยาวมีรอยคอดตามแนวเมล็ดกลมๆ กว้าง 3-5 นิ้ว ยาว 2-4 ฟุต เมล็ดในกลมแบนหนา กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว เปลือกเมล็ดแก่หนาแข็ง มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเมล็ดกลม แบน ขนาดใหญ่ เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก เมล็ดมีรสเมาเบื่อ
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เมล็ดมีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย
นอกจาก ต้นและกิ่งก้านใช้สระผมช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม เส้นผมแข็งแรง ไม่เป็นรังแคคันหนัง ศีรษะแล้ว ลำต้นกิ่งก้านยังใช้เป็นยาขับพยาธิผิวหนัง ได้ เมล็ด แก้โรคผิวหนัง โดย ใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น หากนำเมล็ดไปสุมไฟจนเป็นถ่าน กินแก้พิษไข้ได้
สะบ้ายังมีอีก 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ขนาดเมล็ดกับขนาดของฝักเท่านั้น คือ “สะบ้าลาย” ชนิดนี้จะมีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก ไม่นิยมนำไปใช้เป็นสมุนไพร ชนิดที่ 2 คือ “สะบ้าดำ” ชนิดนี้มีเมล็ด 7-8 เมล็ดต่อฝัก แต่ขนาดของเมล็ดและขนาดของฝักจะเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน และโรคผิวหนัง ชนิดสุดท้าย ได้แก่ “สะบ้าเลือด” ชนิดนี้เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก
Facebook Comments