สูตรชาแก้เก๊าท์

สูตรชาแก้เก๊าท์

สูตรชาแก้เก๊าท์


ผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าจะเป็นเก๊าท์!!

โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

แต่ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา

มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก บางรายหาซื้อยาลดกรดยูริคมาทานเองเมื่อตรวจพบเพียงแค่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย

หากใครตรวจเลือดแล้วพบว่ามียูริคสูงทำสูตรนี้ทานนะครับ

ชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าท์ได้ดีจนเหลือเชื่อ!!
“ชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าท์”
ปรกติจะมียาสำหรับล้างพิษโลหิตแก้โรคเก๊าท์ให้คนไข้ซึ่งจะมีสมุนไพรทั้งคู่อยู่ในยาอยู่แล้ว แต่สูตรนี้เห็นว่ามีประโยชน์และทำได้เองง่ายๆที่บ้าน แนะนำว่าเป็นของสดๆจะได้ผลดีกว่าหลายเท่าครับ

ส่วนประกอบ
1. ตะไคร้ 4-5 ต้น
2. ใบเตย 2-3 ใบ
3. น้ำสะอาด 2 ลิตร
ต้มสมุนไพรจนเดือด พอเดือดลดไฟลง ต้มต่ออีก 15 นาที ห้ามเปิดฝาโดยเด็ดขาด ครบ 15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ดื่มแทนน้ำเปล่าติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์ จะล้างกรดยูริคในเลือด สาเหตุของอาการปวดเข่าจากโรคเก๊าท์ได้ดีมากๆแบบไม่ต้องใช้ยาเลยครับ
คนไข้ที่ใช้น้ำมันหัวเข่าบรรเทาอาการปวดเข่า แต่ท่านปวดเข่าจากโรคเก๊าท์ต้องทานชาเพิ่มนะครับ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
สูตรนี้ได้รับการยืนยันจากคนไข้เองว่า ได้ผลดีเกินคาด!!

(ผลข้างเคียงคือ ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมงครับ)

คำเตือน!!!
– ผู้ที่มีภาวะไตวาย โรคไต ห้ามรับประทาน
– รับประทานติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์ โดยดื่มแทนน้ำเปล่า ใช้รักษาโรคเก๊าท์เท่านั้น คนที่ไม่เป็น ห้ามรับประทานแบบนี้
– สูตรนี้ใช้ลดความดันโลหิตได้ โดยนำมาคั่วให้แห้ง ทำเป็นชาร้อนดื่มทุกๆเช้า ก่อนอาหาร
– คนที่ความดันต่ำห้ามรับประทาน

* อาหารที่ควรงด เพราะทำให้ยูริคในเลือดสูง

1.หัวใจไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก :
นพ.สุเมธ เถาหมอ

SHARE NOW

Facebook Comments