สูตรสมุนไพรรักษาโรคเฉพาะทาง

ต้นข่าความรู้คู่ครัวไทยเป็นไม้ล้มลุก

ต้นข่าความรู้คู่ครัวไทยเป็นไม้ล้มลุก

ต้นข่าความรู้คู่ครัวไทยเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกรูปวงรีหรือเกือบขอบ
ขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก
ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

สรรพคุณ :
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้องใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ
1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม
ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ
ครั้งจนกว่าจะหาย

ตำลึง ผักริมรั้ว ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทาน

ตำลึง ผักริมรั้ว ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทาน

ตำลึง ผักริมรั้ว ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทาน
ตำลึง ไม้เลื้อยที่มักจะพันขึ้นตามต้นไม้ยืนต้น ไม้หลักหรือรั้วบ้าน ตามต่างจังหวัดตำลึงถือได้ว่าเป็นพืชที่หารับประทานได้ง่าย เดินไปเด็ดตามรั้วบ้านก็พอได้รับประทานแล้ว เมนูก็สามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้มจืดตำลึง ตำลึงผัดไข่ หรือจะเป็นเมนูง่ายๆ อย่างตำลึงผัดน้ำมันหอย ก็อร่อยได้ง่ายๆ นอกจากความอร่อยแล้ว ตำลึงยังเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะมีส่วนช่วยในการลดเบาหวาน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงหยิบเอาผักพื้นบ้านอย่างตำลึง มาแบ่งปันความรู้เรื่อง ตำลึง ลดเบาหวาน มาให้อ่านกันค่ะ

สารอาหารใน ตำลึง
ตำลึงเป็นผักที่หารับประทานได้ง่าย แถมมีประโยชน์มากมาย สามารถรับประทานได้แทบทุกส่วนเลยทีเดียว สารอาหารแต่ละส่วนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ใบตำลึง ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย อย่าง เบตาแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค โปรตีน และโพแทสเซียม

ลูกตำลึง หลายๆ คนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าลูกตำลึงนั้นก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน ส่วนใหญ่มักจะเลือกลูกที่ยังเขียวอยู่ ซึ่งลูกตำลึงก็มีสารอาหารอยู่มากมายเช่น สารคริพโตแซนทิน (Cryptoxanthin) วิตามินซี ไฟเบอร์ และโปรตีน

ประโชน์ของ ตำลึง ลดเบาหวาน
มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าตำลึง สามารถ ลดเบาหวาน ได้ จากการศึกษาเรื่องตำลึงพบว่า การบริโภค สารสกัดจากตำลึง 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่าตำลึงมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้มากถึงร้อยละ 16

นอกจากนี้ยังมีงานที่ศึกษาเรื่องตำลึงในปี 2011 ของศูนย์ศึกษาโรคเบาหวาน ที่ได้สนับสนุนงานวิจัยด้านบนนั้น พบว่า การบริโภคตำลึง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและยังมีส่วนช่วยลดความถี่ในการฉีดอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน แต่อย่างไรก็การบริโภคตำลึงเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ดังนั้นการรับประทานตำลึงเพื่อรักษาโรคเบาหวานนั้นเป็นสิ่งที่นักวิจัยไม่แนะนำ

ข้อควรระวังในการบริโภคตำลึง
ตำลึง เป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี และถือได้ว่าเป็นผักที่มีผลข้างเคียงที่น้อย ผลข้างเคียงที่ว่าก็คือ การรับประทานตำลึงมีส่วนช่วยในการขับถ่าย จึงอาจจะมีลักษณะเป็นยาระบาย สำหรับใครที่ท้องไส้ง่ายต่อการขับถ่าย หรือขับถ่ายดีอยู่แล้ว เมื่อรับประทานตำลึงอาจทำให้ขับถ่ายคล่องขึ้นกว่าปกติ และนอกจากนี้ตำลึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ที่ต้องการบริโภคตำลึงพร้อมกับการรับประทานยารักษาเบาหวาน อาจจะต้องมีความระวังในส่วนนี้ เพราะอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลลดลงมากเกินไป จนส่งผลให้เกิดน้ำตาลต่ำ จนมีอาการวิงเวียนศีรษะ วิตกกังวล เหงื่อออก ความดันโลหิตต่ำ นอกจากนี้ตำลึงก็แทบไม่มีผลข้างเคียงที่อันตรายต่อสุขภาพเลย

SHARE NOW

Facebook Comments