อุตพิดหรือ TYPHONIUM TRILOBATU ( LINN ) SCHOTT อยู่ในวงศ์ ARACEAE

อุตพิดหรือ TYPHONIUM TRILOBATU ( LINN ) SCHOTT อยู่ในวงศ์ ARACEAE

อุตพิดหรือ TYPHONIUM TRILOBATU ( LINN ) SCHOTT อยู่ในวงศ์ ARACEAE

ต้นอุตพิด
อุตพิดหรือ TYPHONIUM TRILOBATU ( LINN ) SCHOTT อยู่ในวงศ์ ARACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 10-45 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นวงบริเวณผิวดิน รูปลูกศรแกมรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าเป็น 3 พู กว้างและยาว 10-20 ซม. ก้านใบยาวได้เกือบ 1-2 เมตร อยู่ที่ความสมบูรณ์ของพื้นที่ที่ต้น “ อุตพิด ” ขึ้นอยู่ ก้านใบเป็นสีน้ำตาลอมแดง หรือสีแดงอมม่วงบางพันธุ์มีลายประเป็นจุดต่างๆ ทั่วทั้งก้านคล้ายก้านใบต้นบุก ชนิดนี้หายากมาก ชนิดที่ก้านใบเป็นสีเขียวมีเยอะกว่า
สรรพคุณทางสมุนไพร หัวสดหรือหั่นเป็นแว่นตากแห้ง ต้มดื่มรักษาอาการแข็งเป็นลำในท้อง(อาการเถาดานในท้อง) ใช้หุงเป็นน้ำมันใส่แผลสด กัดฝ้า กัดหนอง สมานแผลได้เด็ดขาดนัก สมัยโบราณนิยมใช้กันแพร่หลาย
การใช้อุตพิดเป็นสมุนไพร ใช้ได้ทั้งส่วนหัวและราก ส่วนหัวใช้เป็นยากัดเถาดานในท้อง(อาการแข็งในลำท้อง) สมานแผลหรือใช้หุงเป็นน้ำมันใส่แผล นอกจากนี้ยังใช้กัดฝ้าหนองได้ด้วย รากจะมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้กินกับกล้วยรักษาโรคปวดท้อง หรือใช้ทาภายนอกและกินรักษาพิษงูกัดได้
กาบและก้านใบใช้เป็นอาหารได้ บางแหล่งบอกว่า ราก ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร และ แก้พิษงูได้

พวกข้อมูลทางการเป็นยาของพวกพืชพื้นบ้านและวัชพืชนี่ทำให้ผู้เขียนยิ่งรู้สึกว่า เราได้แต่รับฟังคำบอกเล่าต่อๆกันมา ราวฟังนิยายหรือตำรับยาผีบอก ทั้งๆที่เรามี “ทุนธรรมชาติ และ ทุนปัญญา” ใช้พืชเป็นได้ทั้งอาหารและยา แต่เรากลับละเลยการทำความเข้าใจ
ตำราพื้นบ้านที่น่าสนใจมาก เลยขอยกมาไว้ในบันทึกเพิ่มเติม ให้ได้เห็นกันทุกท่านค่ะ ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ…
..
พอกให้หัวฝีหลุดโดยไม่ต้องผ่า ใช้ใบหญ้าขัดมอญ 1กำมือ ใบอุตพิต 1 กำมือ

ข้าวสวยปั้น1 ปั้นหมกไฟให้สุก แล้วนำมาตำรวมกัน พอกที่ปากแผลฝี เจาะรูตรงหัวฝี รับรองคืนเดียวหัวฝีหลุดโดยไม่ต้องผ่า
ยาแก้ไอเรื้อรัง
เอาหัวอุตพิศพอสมควร หัวเทียม ๗ กลีบ พริกไทยร่อน ๗ เม็ด ดีปลี ๗ ดอก ทั้ง ๔ อย่างนี้เอามาตำให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเมล็ดข้าวโพด ทานครั้งละ ๒ เม็ด ไอเรื้อรังจะหาย

ยาแก้ไอเรื้อรัง ทำผง ดีประจักษ์นักแล
พิลังกาสา หัสคุณ เปลือกโมกมัน ผลจันทร์ สี่อย่างนี้เอาเท่ากัน พริกไทย เท่ายาทั้งหลาย และให้เอาอุตพิศ หัวเทียม ดีปลีเชือก ตำผสมลงด้วย ละลายน้ำผึ้งรวง เท่าเมล็ดข้าวโพด ครั้งละ ๒ เม็ด กินทุกครั้งหลังอาหาร หรือขนม หรือเวลาไอ กลางคืนก็ให้กิน ไม่ต้องกินน้ำตาม ต้องการให้ติดคออยู่ด้วย คันคอจะหาย

ยาแก้ไอคันคอ
ลูกพุทราแห้งต้มน้ำผึ้ง กินแก้ไอได้ด้วย
ไอมาหลาย ๆ ปี ค่อย ๆ หายไป แต่ให้กินบ่อยครั้งละ ๒ เม็ด เท่าเม็ดข้าวโพด กลางคืนเวลาไอก็ให้กินทีละน้อยอย่ากินน้ำตาม กินยาให้ติดคออยู่จะหายคันคอ ไม่ไอ

ส่วนของก้านใบนำมาลอกเปลือกออกใช้แกงส้มได้เช่นเดียวกับแกงบอน หรือนำไปทำแกงคั่ว โดยมีเครื่องแกงประกอบด้วย กระเทียม กะปิ ขมิ้น ข่า ตะไคร้ พริก ผิวมะกรูด เกลือ นำทั้งหมดมาตำรวมกันให้ละเอียด จากนั้นนำต้นอุตพิดมาลอกเปลือกชั้นนอกออก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นฝอย แล้วนำไปคั่วให้แห้งสนิท นำเครื่องแกงลงผัดกับน้ำกระทิให้หอม ใส่อุตพิดลงไปผัดให้เข้ากันแล้วใส่ปลาย่างตามลงไป ปรุงรส จากนั้นใส่หัวกะทิตามลงไป ฉีกใบมะกรูดใส่ จะได้แกงคั่วอุตพิดที่แสนจะอร่อย

มีเคล็ดลับเล็กน้อยในการแกงคือในระหว่างกำลังแกง ห้ามปิดฝา ห้ามเติมน้ำเพราะจะทำให้คันเวลากิน แกงอุตพิดนิยมรับประทานในฤดูฝนเพราะหาได้ง่าย แต่ในฤดูหนาวที่ยังมีฝนแบบนี้อาจพอหากินได้ในบางท้องถิ่น นอกจากนี้ส่วนของหัวก็สามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน ส่วนหัวมีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะตัวไม่เหม็นเหมือนส่วนของดอก จึงไม่ต้องกังวล

มีตำนานโบราณว่าไว้ เลยนำ ตำนานดอกอุตพิดมาให้อ่าน
….แต่ครั้งแรกเริ่มที่มีดอกอุตพิดเกิดขึ้นในโลก กลิ่นของดอกอุตพิดหอมหวนชวนหลงใหลได้ปลื้มมาก ๆ กลิ่นของดอกอุตพิดนั้นหอมมาก หอมฟุ้งไปถึงสรวงสวรรค์โน่น….ทำให้เหล่าบรรดานางฟ้าที่ได้กลิ่นหอมพากันเคลิบเคลิ้มดังต้องมนต์ ดังนั้นเหล่านางฟ้าจึงพากันตามหากลิ่นหอมนั้นจนมาถึงโลกมนุษย์ และได้พบกับที่มาของกลิ่นหอมนี้คือดอกอุตพิด ยิ่งได้เห็นความงามของดอกและกลิ่นหอมนั้นยิ่งทำให้เหล่านางฟ้าหลงใหลจนลืมกลับไปยังสวรรค์ เดือดร้อนถึงพระอินทร์ และเหล่าเทวดาทั้งหลายที่เคยมีนางฟ้าปรนนิบัติขับกล่อมทุกวันคืน พระอินทร์จึงให้เทวดามาตุลี ไปสืบสาวราวเรื่องว่านางฟ้าหายไปไหนกันหมด พอทราบสาเหตุ พระอินทร์ก็โกรธมาก จึงสาปให้ดอกอุตพิดมีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง จนไม่เป็นที่โปรดปรานของใครที่ได้พบเห็นอีกต่อไปจนมาถึงทุกวันนี้

เวลานี้คนไทยที่รังเกียจกลิ่นดอกอุตพิดอาจไม่รู้ว่า ในต่างประเทศมีการซื้อขายเพื่อนำไปปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่ง

หนังสือสยามไภษัชยพฤกษ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล…..
TEAY

SHARE NOW

Facebook Comments