สมุนไพรรักษาโรค

รวมรวมข้อมูล ต่างๆ เกี่ยวกับสมุนไพร ที่พบที่แชร์กันอยู่ในโลกออนไลน์ ที่เห็นว่าดีมีประโยชน์ มาเล่าสู่กันฟัง

มะระขี้นก สมุนไพรทางเลือกเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

มะระขี้นก สมุนไพรทางเลือกเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

มะระขี้นก สมุนไพรทางเลือกเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

🍃มะระขี้นก สมุนไพรทางเลือกเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน สรรพคุณเด็ดช่วยลดน้ำตาลในเลือด

(more…)

ซุปหัวหอม ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

ซุปหัวหอม ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

ซุปหัวหอม ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

🍲 ซุปหัวหอม ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน…หนึ่งในเมนูเด็ดจากหนังสืออาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19
🧅หัวหอม มีสารเคอซิทิน ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ มีฤทธิ์ป้องกันการอักเสบ
🍅มะเขือเทศ มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก
🍗เนื้อไก่ แหล่งโปรตีนคุณภาพดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน
⭐️ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็มได้ที่ 👉🏻👉🏻 https://drive.google.com/file/d/1Z075geA_YCfaY0eJm4570smH3uZVUhUJ/view?usp=drivesdk

ใบช้าพลู : ดูแลไต

ใบช้าพลู : ดูแลไต

ใบช้าพลู : ดูแลไต

ช้าพลู : ดูแลไต …👍..🌿
.
🌿 …ช้าก่อน อย่ามองผ่าน
มีช้านานที่บ้านเรา
ช้าพลูอย่าดูเบา
รักษาเจ้าเฝ้าดูแล
.
💚 …คนมักสับสนระหว่างใบช้าพลูกับใบพลู ช้าพลูเป็นผักพื้นบ้าน มีใบสีเขียวเข้ม รูปร่างคล้ายหัวใจ รสชาติเผ็ดเล็กน้อย นำมาทำเป็นอาหาร ส่วนใบพลูเอาไว้กินกับหมากจ้า
.
…ตำรายาไทยบอกว่า ช้าพลูทั้งต้นมีรสเผ็ดร้อน ขับเสมหะ ช่วยท้องอืดเฟ้อ แก้ไอ แก้หวัด ส่วนใบใบช้าพลู เป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เลือดลมซ่าน ขับเสมหะ แก้เบาหวาน
.
🧪 …สรรพคุณเหล่านี้เป็นที่สนใจของแพทย์แผนใหม่ นำไปวิจัยจนพบว่า ช้าพลูมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ที่สำคัญคือ เซลล์ของหน่วยไตและผนังหลอดเลือด
.
🧓 …ช้าพลูจึงเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลไต ซึ่งสอดคล้องกับการแพทย์แผนไทยที่บอกว่าช้าพลูมีรสร้อน ช่วยการไหลเวียนของเลือด
.
…วิธีการแบบชาวบ้านทั่วๆไป เขานำต้นช้าพลูทั้งต้นและรากมาตากแห้ง นำมาประมาณหนึ่งกำมือ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ( 4 แก้ว) ต้มให้เดือดนาน 10 – 15 นาที นำมาดื่มอุ่นๆเป็นชาต่างน้ำ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว
.
👌 …จะช้าอยู่ใย ไปหาช้าพลูมาปลูกติดบ้านกันดีกว่า
.
💋 …กระซิบข้างหู : สมุนไพรที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด(เบาหวาน)ทุกชนิด ผู้ใช้ควรวัดระดับน้ำตาลและความดันอย่างสม่ำเสมอนะจ้ะ
.

สูตรเครื่องดื่มที่ใช้ “ผลมะขามป้อมแห้ง”

สูตรเครื่องดื่มที่ใช้ “ผลมะขามป้อมแห้ง”

มาแล้ว มาแล้ว..
สูตรเครื่องดื่มที่ใช้ “ผลมะขามป้อมแห้ง”
ใครได้รับแล้วส่งเสียงกันหน่อย
วันนี้เลยชวนทำเครื่องดื่มอร่อยๆ ซ่าได้ไม่พึ่งโซดา กับพระเอกของเรา “ผลมะขามป้อมแห้ง”
เมื่อมีพระเอก ก็ต้องมีพระรองและตัวประกอบ แต่เครื่องดื่มของเรายังไม่ได้ตั้งชื่อเลย มาช่วยกันตั้งชื่อดีกว่า ชื่อไหนโดนใจเดี๋ยวส่งวัตถุดิบทำเครื่องดื่มไปให้ฟรีเลยจ้ะ
เรามาดูส่วนประกอบกัน
มะขามป้อมแห้ง 15 กรัม
ขิง 10 กรัม
ขมิ้นชัน 2 กรัม
น้ำส้มซ่า 2 ช้อนโต๊ะ (สามารถใช้น้ำมะนาว 1ช้อนโต๊ะแทนได้)
ส้มวาเลนเชีย 1ผล ใช้ทั้งผิวส้มและน้ำส้ม ผิวส้มปลอกไม้ให้ติดเยื้อขาวนะ
น้ำ 1 ลิตร
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง (ถ้าไม่ใส่จิงเจอร์บัค ให้ใส่น้ำตาลทรายครึ่งถ้วยตวง )
จิงเจอร์บัค 20 ml (สำหรับคนที่มีจิงเจอร์บัคใส่เพื่อไว้หมักทำเครื่องดื่มซ่า)
วิธีทำ
….+เปิดไฟแรงปานกลาง ต้มน้ำที่ใส่มะขามป้อมแห้ง ขิงและขมิ้นจนน้ำเดือด
….+หรี่ไฟอ่อนใส่ผิวส้มตุ๋นอีก 10 นาที จึงปิดไฟ
….+ใส่น้ำตาลทราย คนให้ละลายแล้วใส่น้ำส้มซ่าหรือน้ำมะนาว และน้ำส้มที่เตรียมไว้เป็นอันเสร็จ รอให้อุ่น ดื่มได้เลย
….+สำหรับใครที่มีจิงเจอร์บัคและอยากทำเครื่องดื่มซ่า ต้องรอให้เครื่องดื่มเย็นลงเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วจึงใส่จิงเจอร์บัคลงไป
….+คนให้เข้ากัน เทใส่ขวดเก็บไว้ 2 วัน เราจะได้เครื่อมดื่มซ่า ที่มีความหวานน้อยลงเพราะจุลินทรีย์ในจิงเจอร์บัคจะไปกินน้ำตาลในเครื่องดื่มแล้วเปลี่ยนเป็นก๊าซ Co2 ออกมา
…..+ถ้าดื่มกับน้ำแข็ง แนะนำให้เติมน้ำผึ้งละลายน้ำอุ่นใส่ผสมด้วยจะยิ่งเพิ่มความหอมอร่อยเลยนะจะบอกให้
เครื่องดื่มที่เราเลือกได้​ จะดื่มร้อน​ ดื่มเย็น
รอบหน้าจะมาแนะนำวิธีทำจิงเจอร์บัค
ขอขอบคุณ เพจบ้านเล่าเรื่องเมืองปราจีนบุรี
แล้วพบกันนะ

สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง 45 ข้อ !
• 1 กระเจี๊ยบแดง
• 2 ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
• 3 สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
• 4 ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
• 5 คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม
• 6 โทษของกระเจี๊ยบแดง
• 7 วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบแดงพุทราจีน
กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu
กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา
ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
• ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
• ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
• ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
• ผลกระเจี๊ยบแดง ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง
สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
7. เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
13. น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
16. ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
31. เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
33. ใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของไขมันเลส และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
1. กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้
2. กระเจี๊ยบใช้ทำเป็นน้ำดื่มที่ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วย
3. ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำมาใช้ทำแกงส้มก็ได้ ให้รสเปรี้ยวกำลังดี และยังมีวิตามินเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย
4. กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
5. กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal tea และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล เครื่องดื่มต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น
6. น้ำต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางประเภทครีมหน้าใส
7. เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
8. ในแอฟริกาใต้มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
9. นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม
• พลังงาน 49 กิโลแคลอรี
• คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
• ไขมัน 0.64 กรัม
• โปรตีน 0.96 กรัม
• วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
• วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
• วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม 2%
• วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม 2%
• วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
• ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
• ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
• ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
• ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
• ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
• ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของกระเจี๊ยบแดง
• กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
• น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม้ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ
วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบแดงพุทราจีน
1. ให้เตรียมกระเจี๊ยบประมาณ 1 กำมือและพุทราจีน 1 กำมือ
2. นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วบีบพุทราจีนให้แตก ให้รวมกันลงในภาชนะแล้วเติมน้ำเปล่า 2 ลิตร
3. ต้มให้เดือดสักพักแล้วยกลง กรองเอาเนื้อออกให้เหลือแต่น้ำ
4. เติมน้ำตาลเพื่อปรุงรส หรือจะใช้ใบหญ้าหวาน หรือลำไยตากแห้งแทนก็ได้ เพราะจะได้ความหวานจากธรรมชาติที่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หรือไม่ต้องใส่เลยก็ได้ เมื่อได้รสตามชอบใจแล้ว ก็ให้นำมาเก็บใส่ขวดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นเอาไว้ดื่ม
5. สาเหตุที่ใส่พุทราผสมลงไปนั้น เป็นเพราะว่าการต้มกระเจี๊ยบแดงกินแบบเดี่ยว ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ จึงต้องมีพุทราจีนตากแห้งผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นตัวแก้และเป็นตัวช่วยบำรุงไตไปด้วยในตัว
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันการแพทย์แผนไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO), มูลนิธิหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by davidfntau, Vietnam Plants & The USA plants), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

มหาพิกัดตรีผลา

มหาพิกัดตรีผลา

มหาพิกัดตรีผลา

 “มหาพิกัดตรีผลา” พิกัดยาเสริมภูมิคุ้มกัน ปรับธาตุ เหมาะกับช่วงฤดูร้อน
ตรีผลา เป็นอีกหนึ่งตำรับยาสมุนไพรที่ช่วยปรับสมดุลร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากการเกิดโรค
…”ตำรับตรีผลา” ประกอบด้วย สมอพิเภก, สมอไทย, มะขามป้อม ซึ่งตรีผลาเป็นตำรับยาที่ช่วยดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อน แต่ถ้าจะมุ่งเน้นแก้โรคทางเสมหะ เช่น แก้โรคหวัด บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ จะต้องใช้เป็น “ตำรับมหาพิกัดตรีผลา” คือ
– มะขามป้อม 12 ส่วน (ประมาณ 45 กรัม)
– ลูกสมอพิเภก 8 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม)
– ลูกสมอไทย 4 ส่วน (ประมาณ 15 กรัม)
(น้ำหนักสมุนไพรสามารถปรับได้ตามสัดส่วน)
สามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและสมุนไพรแห้ง แต่ควรใช้ให้เป็นประเภทเดียวกัน
วิธีทำ
1. นำสมุนไพรทั้งสามชนิดล้างน้ำให้สะอาด
2. หากเป็นสมุนไพรแห้งให้แช่ในน้ำเปล่า 3 ลิตร ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่หากเป็นสมุนไพรสด ให้เติมน้ำ 3 ลิตร
3. ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใช้เวลาต้ม 30 นาที
4. กรองเอาแต่น้ำ
5. แต่งรสชาติด้วยเกลือ หญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย
ดื่มอุ่น ๆ เช้า และ เย็น ครั้งละ 100 มิลลิลิตร
นอกจากนี้ ควรดูแลตัวเองให้ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญต้องป้องกันตนเองอย่าให้ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการออกไปในชุมชนที่มีผู้คนแออัด หากมีความจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งและควรล้างมือบ่อยๆ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากไวรัส COVID-19 ได้ค่ะ
Cr. ภาพและข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก

9 แนวทางเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าให้สมุนไพรไทยในเวทีตลาดโลก
การให้ข้อมูลและความรู้อย่างจริงจังของมหาวิทยาลัยของอินเดีย ในเรื่องสรรพคุณและงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร ทำให้ยอดขายสมุนไพร ในแบบอายุรเวทของอินเดีย เติบโตในตลาดอเมริกา โดยเฉลี่ย 20 % – 50 %
จากการวิเคราะห์ของผม สมุนไพรไทยจะมีมูลค่าและคุณค่าในเวทีโลก เป็นที่ยอมรับและเชื่อมันของผู้บริโภค สามารถสู้กับสมุนไพรในอายุรเวทของอินเดียได้ ต้องมีแนวทางดังนี้
1. ความชัดเจนและตรงไปตรงมาของภาครัฐในการสนับสนุน
2. การทำการตลาด และ มีการเล่า Story ในเรื่องอายุรเวท และ สมุนไพร ซึ่งเป็นอะไรที่ฝรั่งชอบ ดังเช่น Story สมุนไพรในเกาหลี จีน ซึ่งทำรายได้มหาศาล ตรงนี้ ประเทศไทย หรือ ผู้ประกอบการต้องทำให้ชัดเจน และ เป็นหนึ่งในจุดขายให้ได้
3. ข้อมูลสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยจากหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัย หรือ กระทรวงสาธารณสุข ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของไทยมาก ไทยชอบฆ่าตัดตอนสมุนไพรไทย ที่เป็นภูมิปัญญาใช้สืบทอดกันมา นับร้อยนับพันปี ทางแก้ คือ หน่วยงานนั้นต้องหาข้อมูลหรือทำวิจัย เพื่อหาทางให้สมุนไพรนั้นๆ มีที่ยืนและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและก่อให้เกิดรายได้ ไม่ใช่ไปสร้างความหวาดกลัว และ ความไม่เชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร
3. ต้องรื้อระบบการตลาดและประชาสัมพันธ์สมุนไพรไทยใหม่หมด ทั้งการตลาดสร้างความเข้าใจให้คนไทยเอง และ การตลาดให้ชาวต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
4. ระบบการผลิตที่สามารถทำให้สมุนไพร เข้าไปในร่างกายได้จริงๆ มีการทดสอบอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เอาสมุนไพร มาบดๆเป็นผง แล้วจับยัดๆใส่แคปซูลในปัจจุบัน แล้วอ้างสรรพคุณไปทั่ว
5. สมุนไพรที่นำมาผลิตต้องมีสารออกฤทธิ์ได้จริง ไม่ใช่แค่ซากสมุนไพร ตรงนี้จะเชื่อมไปถึงตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรูป เป็นต้น ณ ปัจจุบัน พืชที่ปลูกเป็นสมุนไพรไทย ยังพบปัญหาในเรื่องคุณภาพและปริมาณสารออกฤทธิ์อย่างมาก ประมาณใช้ขมิ้นก็จริง แต่สารเคอคิวมิน ที่เป็นตัวออกฤทธิ์จริงๆในขมิ้นนั้น กลับน้อยนิด
6. สนับสนุนภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้เข้าถึงข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงการผลิต มากขึ้น เพื่อนำไปสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง
7. มีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งในด้านการลงทุนผลิต วิจัย ให้สิทธิมาตรการทางภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาสมุนไพรดีๆมีคุณภาพออกมาจำหน่าย
8. ภาครัฐสนับสนุนและช่วยในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนอนุญาตในการผลิต
9. พิจารณาให้สมุนไพรไทย สามารถบอกสรรพคุณ และประโยชน์ในการใช้ ตามการรับรองหรือการศึกษาวิจัยที่ค้นพบ ที่เป็นที่ยอมรับของสากล ไม่ใช่กีดกัน ไม่ให้สามารถบอกกล่าวสรรพคุณใหม่ๆ ที่ทันสมัยได้เลย
จากข้อปัญหาที่เจอ ถ้าประเทศไทย สามารถแก้ไขได้อย่างจริงจัง จะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ในแบบสินค้ามีมูลค่าและมีคุณค่า ไม่ใช่ขายกันแบบตลาดตามมีตามเกิด หรือ ตลาดสินค้าสุขภาพแบบประเทศไร้การพัฒนา
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน

กระเทียม กินไว้ต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกัน
กระเทียม เป็นหนึ่งในสมุนไพร ที่แนะนำให้บริโภคในช่วงที่มีการระบาดของ โควิด-19 เนื่องจากมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunomodulating effect) และต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effect)
มีสารในกลุ่มซัลเฟอร์ ถึง 70-80% จึงทำให้กระเทียมมีกลิ่นฉุนเฉพาะ ได้แก่ alliin, allicin, ajoene, allylpropyl disulfide, diallyl trisulfide (DATS), S-allylcysteine (SAC), vinyldithiins, S-allylmercaptocysteine
กระเทียมมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ทั้ง ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ เป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย และ
.
ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม (Adaptive or Acquired Immunity) เป็นด่านที่สองที่ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเม็ดเลือดขาว และ T lymphocyte ซึ่งจะสร้าง T cells ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อไวรัสในเซลล์และนอกเซลล์
.
ซึ่งการตอบสนองแบบจำเพาะนี้ มีคุณสมบัติในการจดจำเชื้อโรคได้ ทำให้การตอบสนองในครั้งหลังรวดเร็ว มีประสิทธิภาพดีและมีปริมาณมากกว่าการตอบสนองในครั้งแรก
การรับประทานกระเทียมเพื่อสุขภาพ
• 1-2 กลีบต่อวัน หรือประมาณ 4 กรัมของกระเทียมที่ไม่ได้ปลอกเปลือก
• ผงแห้งของกระเทียมประมาณ 900 กรัม
• สารสกัดจากกระเทียมบ่มขนาด 1 ถึง 7.2 กรัม
ข้อห้าม/ ข้อควรระวัง
การกินเข้มข้นขนาดสูง[สารสกัด] อาจทำให้มีผลกดภูมิคุ้มกัน
ห้ามบริโภคขนาดสูง ใน หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน [สามารถรับประทานในขนาดปกติที่เป็นอาหารได้]
ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟันที่ทำให้ต้องเสียเลือด ควรหยุดกินกระเทียม โดยเฉพาะในรูปแบบสารสกัด หรืออัดเม็ด อย่างน้อย 7 วัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
หากกินแล้วปวดท้อง จุกลิ้นปี่ ให้ลองปรับขนาดการกินให้ลดลง และกินหลังมื้ออาหาร
การบริโภคกระเทียมจะทำให้มีกลิ่นกระเทียมที่ปาก และลมหายใจ หากบริโภคติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้มีกลิ่นตัวตามผิวหนังด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Alschulera L, Weilb A, Horwitza R, Stametsd P, Chiassona AM, Crockera R, Maizes V. (2020). Integrative considerations during the COVID-19 pandemic. Explore 000, 1-3:
2. Moutia M, Habti N, Badou A. (2018). In Vitro and In Vivo Immunomodulator Activities of Allium sativum L. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine Article ID 4984659: https://doi.org/10.1155/2018/4984659
3. Klein, S.; Rister, R.; Riggins, C. The Complete German Commission E Monographs: Therapeutic Guide to Herbal Medicines; American Botanical Council: Austin, TX, USA, 1998; p. 356.
4. Amagase H, et al. Intake of Garlic and Its Bioactive Components. American Society for Nutritional Science 2001.
5. Natural medicines. Garlic [อินเตอร์เนต]. 2020 [เข้าถึง 7 เม.ย. 63]. เข้าถึงจาก :https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=300