จินดามณี
ประวัติผู้แต่งหนังสือจินดามณี
หนังสือจินดามณีนั้นมีหลายสำนวน จึงเป็นการยากที่จะระบุว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งฉบับไหน แต่ในฉบับความพ้องนั้นส่วนใหญ่เป็นหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งอยู่สุโขทัย โดยแต่งให้เนื่องจากทรงได้เป็นเจ้าเมืองลพบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในบันทึกสมาคม วรรณคดี ปีที ๑ เล่ม ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ว่า สมเด็จพระนารายณ์ทรงดำรัสสั่งให้พระโหราแต่งหนังสือ จินดามณีและหนังสือพระราชพงศาวดาร ด้วยว่าพวกบาทหลวงฝรั่งเศษเมื่อแรกเข้ามาสอน ศาสนาคริสต์ในพระนครศรีอยุธยานั้น ได้มาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่เด็กไทยด้วย ดังนั้นพระนารายณ์ทรงเห็นว่าถ้าฝ่ายไทยไม่เอาเป็นธุระจัดบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้รุ่งเรือง ก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศส คาดว่าพระโหรานั้นเป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอีกทั้งเชี่ยวชาญ พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระโหราแต่งตำราถวาย ส่วนหนังสือพระราชพงศาวดารนั้น จะแต่งเป็นหนังสือเรียนหรือแต่งสำหรับให้เป็นความรู้แก่ทูตต่างประเทศที่เข้ามาในครั้งนั้น ก็อาจเป็นได้ การแต่งหนังสือจินดามณีนั้นจะเห็นว่าต้นเรื่องจะขึ้นต้นด้วยร่าย รวบรวมศัพท์ที่มีเสียงพ้องกัน แต่เขียนไม่เหมือนกัน เช่น บาตร บาท บาศ เป็นต้น จากนั้น จากนั้นแต่งเป็นกลอนกาพย์ ก่อนจบมีโคลงรหัสอักษร เช่น ไทยนับ ๓ ไทยนับ ๕ ไทยหลง เป็นต้น ซึ่งคงเป็นที่นิยมกันแพร่หลายในเวลานั้น
กรมศิลปากร จินดามณี หน้า ๑๔๘-๑๕๐.
ประวัติหนังสือจินดามณี
หนังสือเรียนของคนไทยที่ปรากฎว่ามีใช้ในสมัยก่อนเท่าที่ปรากฎหลักฐานก็จะมีเรื่อง จินดามณี หรือ จินดามุณี อันแปลว่า แก้ววิเศษ แต่งโดยพระมหาราชครูกวีในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ซึ่งหนังสือเรื่องจินดามณีนี้นับเป็นหนังสือเรียนเล่มแรกที่ใช้กันอยู่ในสมัยนั้น เนื้อหาภายในเป็นประเภท ร่าย ฉันท์ และร้อยกรองประเภทต่างๆ แบบแผนการเรียนในสมัยก่อนค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากจะเน้นหนักไปในทางด้านกวีโดยเฉพาะ จึงมีผู้สันนิษฐานว่าอาจมีแบบเรียนเป็นคู่มือใช้อยู่ด้วย แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐาน
หนังสือจินดามณีเป็นหนังสือที่มีมาแต่สมัยอยุธยา แต่ชื่อของหนังสือก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็น “จินดามณี” หรือ “จินดามุนี” กล่าวกันว่า จินดามณีเป็นชื่อหนังสือเรื่องหนึ่งซึ่งมีอยู่ก่อน ส่วนจินดามุนีเป็นชื่อของหนังสืออีกเรื่องหนึ่ง หรืออาจกลับกันก็ได้ แต่ชื่อที่น่าจะถูกต้องที่สุดคือชื่อ จินดามณี เพราะเป็นชื่อของแก้วสารพัตรนึกอย่างหนึ่ง กล่าวกันว่าหากผู้ใดมีอยู่ในครอบครองนึกสิ่งใดจะได้สมหวังในสิ่งนั้น ดังนั้นหนังสือเล่มนี้อาจจะสื่อความหมายในเชิงว่า หากผู้ใดได้เรียนหนังสือเล่มนี้ก็จะรู้แตกฉานในอักษรศาสตร์ของไทยเสมือนได้มีแก้วสารพัดนึกอยู่ในมือ
หน้าต่อไป
กรมศิลปากร จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณี และ จินดามณี ฉบับสมเด็จพรเจ้าบรมโกศ หน้า ๑๓๓.
ประวัติหนังสือจินดามณี
จากหลักฐานต่างๆ พบว่าจินดามณีเล่ม๑ แต่งขึ้นในรัชกาลที่ ๓ โดยมีการอ้างถึงในหนังสือ ปฐม ก กา หัดอ่านใจความว่า “ถ้าใครใคร่รู้ ให้ดูสารา เพียรยลค้นหา จินดามะณี” ส่วนหนังสือจินดามณี เล่ม ๒ เป็นของกรมหลวงวงษาฯ แต่งขึ้นปลายรัชกาลที่ ๓ เนื้อหาอ้างถึงจินดามณีฉบับเก่าว่า “สสามไม้ม้วนไม้มลาย แถลงลักษณ์ธิบาย ไว้แจ้งในจินดามณี” (๒) หนังสือจินดามณีนั้นมีด้วยกันสี่ประเภท ได้แก่ จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีฉบับความพ้อง จินดามณีฉบับพระนิพนธ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และ จินดามณีฉบับหมอบรัดเลรวบรวม
จินดามณีฉบับความแปลก
มีสองเล่ม เก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ การขึ้นต้นเหมือนกันทั้งสองฉบับแต่ที่ว่าเป็นฉบับความแปลกและมีความแตกต่างจากฉบับอื่นๆ
จินดามณีฉบับความพ้อง
มีอยู่ด้วยกันหลายเล่ม เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้างแต่ไม่มาก หากจะจัดจำแนกแยกเป็นจำพวกจะได้ ๔ จำพวก ได้แก่
หน้าก่อน หน้าต่อไป
กรมศิลปากร จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณี และ จินดามณี ฉบับสมเด็จพรเจ้าบรมโกศ หน้า ๑๓๙.
ประวัติหนังสือจินดามณี
– ฉบับลายมือเขียน เก่าที่สุด ลักษณะเป็นสมุดไทยดำ เส้นรง
– ฉบับนายมหาใจภักดิ์ มีอยู่ด้วยกัน ๒ เล่ม เป็นสมุดไทยดำหน้าต้นชุบเส้นทองเส้นหนึ่ง ต่อไปเขียนด้วยเส้นรง มีชุบเส้นทองบ้างเป็นบางแห่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งนั้นจะเป็นเส้นรงตลอดเล่ม
– ฉบับพระยาธิเบศ มีการขึ้นต้นด้วยร่ายที่คำแปลกแตกต่างจากเล่มอื่น
– ฉบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มี ๒ เล่มสมุดไทยดำ
จินดามณีฉบับพระนิพนธ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
เป็นหนังสือที่ต้นฉบับมีจบบริบูรณ์แต่เฉพาะที่พิมพ์รวมอยู่ในตอนท้ายหนังสือจินดามณี ฉบับพิมพ์ของหมอสมิธ บางคอแหลม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ได้คัดมาทำเป็นต้นฉบับลงพิมพ์ไว้ในเล่มนี้เป็นเล่มที่ ๒ ขึ้นต้นด้วยฉันท์วสันตดิลก แล้วต่อไปแจกลูกรวมทั้งอักษรกล้ำในแม่ ก กา, กก, กง, กด, กน, กบ, กม และ เกอย และผันอักษรกลางทุกตัวด้วยไม้เอก โท ตรี จัตวา(๕ เสียง) ผันอักษรสูงด้วยเอก โท (๓ เสียง) และอักษรต่ำด้วยเสียงเอก โท (๓ เสียง) รวมทั้งอักษรควบกล้ำทุกแม่ รวมทั้งอักษรต่ำที่มี ห และ อ นำ จินดามณีฉบับนี้ เลียนแบบมาจากจินดามณีฉบับความพ้องที่เป็นของเก่า แต่ว่าได้มีการแก้ไขให้กระทัดรัดขึ้น อีกทั้งยังปรับปรุงให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย การแต่งจินดามณีเล่มนี้แต่งขึ้นเมื่อสมัยที่กรมหลวงวงษาธิราชสนิทยังดำรงยศเป็นกรมหมื่น ทรงนิพนธ์จินดามณีเล่ม ๒ นี้ขึ้น จินดามณีฉบับนี้เป็นฉบับที่หมอสมิธได้นำไปพิมพ์ และบางตอนของหนังสือก็ได้มีการคัดลอกไปลงหนังสือเล่มอื่นนั่นคือหนังสือของหมอบรัดเลโดยตอนที่นำไปเป็นตอนที่อธิบายถึงวิธีแต่งโคลง กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเป็นกวีที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงพระองค์หนึ่ง รวมทั้งได้ทรงแต่งหนังสือไว้หลายเรื่อง ทรงเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
หน้าก่อน หน้าต่อไป
กรมศิลปากร จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณี และ จินดามณี ฉบับสมเด็จพรเจ้าบรมโกศ หน้า ๑๔๘-๑๕๐.
ประวัติหนังสือจินดามณี
จินดมณีหมอบรัดเล
เป็นฉบับที่มีการพิมพ์รวบรวมเรื่องไว้หลายๆเรื่องในเล่มเดียวกัน อันได้แก่ ประถม ก กา แจกลูก จินดามณี ประถมมาลา และ ปทานุกรม และยังมีการแทรกเรื่องและคำอธิบายต่างๆเพิ่มเติมลงไป เช่น คำควบกล้ำ การแบ่งอักษรออกเป็น ๕ จำพวก คำราชาศัพท์ ศัพท์กำพูชา คำชวา และโคลงบทต่างๆ ในจารึกวัดพระเชตุพน และต่อมาโรงพิมพ์พานิชศุภผลเป็นผู้พิมพ์ออกจำหน่าย
จินดามณีนั้นเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยอยุธยา โดยในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ที่ใคร่ศึกษาหาวิชาใส่ตัวจำเป็นต้องคัดลอกไว้ โดยสมุดที่ใช้คัดลอกนั้นก็จะเป็นสมุดที่ทำจากส่วนของพืชนำมาผ่านขั้นตอนทำเป็นสมุดใช้กัน หรือที่เรียกว่าสมุดไทย การคัดลอกนั้นก็จะคัดลอกจากต้นฉบับจากนั้นก็ตกทอดต่อๆ กันมา เมื่อนานเข้าตัวอักษรจึงเริ่มลางเลือน อีกทั้งหนังสือก็เกิดชำรุดเสียหาย ผู้ที่เป็นเจ้าของหนังสือ บางครั้งก็อาจเขียนเรื่องอื่นเพิ่มเติมลงไปตามแต่ใจ หากสมุดขาด ก็อาจจะมีการประติดประต่อผิดๆ ถูกๆ ไปตามเรื่อง ดังนั้นความแตกต่างของหนังสือจึงมีมากบ้างน้อยบ้าง อันเป็นธรรมดาของหนังสือ ที่ใช้เป็นแบบเรียน อันจะนับรวมถึงหนังสืออื่นๆ ที่ใช้กันเป็นประจำ เช่น หนังสือสวมมนต์ และตำรา ภาษาบาลีต่างๆ หนังสือจินดามณีนั้นใช้เป็นแบบเรียนมานาน เลิกใช้เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจเป็นแบบเรียนหลวงสมัยรัชกาลที่ ๕ ขึ้น
หน้าก่อน
กรมศิลปากร จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณี และ จินดามณี ฉบับสมเด็จพรเจ้าบรมโกศ
หน้า ๑๔๘-๑๕๐.
คำนำหนังสือจินดามณี
หนังสือจินดามณีมีอยู่ด้วยกันหลายสำนวน หากแต่เล่มที่นำมาใช้เป็นต้นแบบนี้เป็นหนังสือ สมุดไทยดำ สำนวนความพ้อง สำเนาไมโครฟิลม์จากหอสมุดแห่งชาติ เล่มที่ ๑/ง ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
เนื้อหาภายในมีความแตกต่างจากฉบับอื่น คือจะมีภาษาบาลีแสดงควบคู่อยู่ด้วย และนอกจากนี้ยังมีรูป แสดงอยู่ภายในหนังสือด้วย ดังนั้นการจัดทำเว็บเพจของหนังสือฉบับนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้อง ใช้ไฟล์รูปภาพในการแสดงส่วนที่ไม่สามารถแสดงผลโดยใช้อักษร เช่น ตอนที่เป็นภาษาบาลี แผนผังกลอน รูปภาพ เป็นต้น
หน้าหนึ่ง
ศรีสิทธิสวัสดิ์ ทัศนัขประนม บรมบาทบงกช ทศพลเพญาณ
มหานคภพเพญา การุญดิเหรก เอกโมสิด ภิชิตมารโมลี
ดิหลกตรีพ่างภพ นพโลกุฎรธรรม์ อภิวันทนอัษฎางค์ อริยางคโยค
จตุรโอฆฃจัด รัตนไตรยน้อมเส็จ ผเดจอุป ัทวัน อันตภยวินาศ
๏ ศรีสิทธิสวัสดิ์ ทัศนัขประนม บรมบาทบงกช ทศพลเพญาณ
มหานคภพเพญา การุญดิเหรก เอกโมสิด ภิชิตมารโมลี
ดิหลกตรีพ่างภพ นพโลกุฎธรรม์ อภิวันทนอัษฎางค์ อริยางคโยค
จตุรโอฆขจัด รัตนไตรยน้อมเส็จ ผเดจอุป ัทวัน อันตภยวินาศ
คัลยบาทบทรัตน์ ขัติยธิบดินทร์ ภูมินทรมิ่งมงกุฎ ศรีอยุทยเวียงบวร
ทิณกรจำหรัด รัชนิกรส่องหล้า ฟ้าดินศุรสมพอง ฉลองลักษณพิจิตร
วิกะสิดสะโรชร้อย สร้อยประดับกรรณ กลฉันท์กลโคลงหลาก มากๆหลาย
หย่าง ต่างๆหลายชั้น โคลงดั้นโคลงสุภาพ กาพย์ห่อโคลงกานท์
บูราณรังรักษ จักรสงเคราะห์บท ทวาทศราศรี มาลีเลื่อนผกา
ประทุมมาลยกมุท ภุชงคเกิ้ยวกระหวัด รหัสอักษร สถาพรจตุรพิด
มหิศรเรืองยศ ปรากฎกัลบ์าวรสาร ปรหารมลวิมล ชณมายุศมอย่าน้อย
ยาวยืดยืนยิ่งร้อย รอบรู้คุณธรรมสืบนา ฯะ ฯะ๛
๏ รวมอรรถธิรางค์เบื้อง บรรพ์สนองไว้พ่อ กลกาพย์กลกานท์สรรพ์
สุภสร้อย กลฉันทาลโคลงฉลอง เฉลิมโอษฐ์อ่านแฮ เล่สุมาลย์ร้อยสร้อย
เรากินแตงโม ลูกไอ้กระโต ฉะเพาะเจาะนาน ธค่อยอยู่ไย
กูจะใคร่คราญ ไม่ระ ะภาน ฉิฉะสงสาร แนะให้แกาะชาย ๓๒ ฯะ๛
๏ ธรงสำรับจำคณะทัง ๘ โคลงสำรับจำคณะทัง ๘ ธรงทังสองบทโคลง
๏ มะนะครุอุล้วน ดับกัน คือ
ภะยะครุอุสัน เสกหน้า คือ
ชะระครุอุพันธ์ เนาพ่ำกลางนา คือ
สะตะครุอุอ้า อ่าไว้หนหลัง คือ
๏ แสดงมนดลเล่หล้วน รยางค์ คือ
ไภยนคลวานวาง เนื่องหน้า คือ
ชรสตคะโลกลาง เนาอยู่หลังนา คือ
สิ้นสุดจุดคณะข้า กล่าวไว้จงจำ คือ
แสดงมนดลเล่หได้ ไตรยางค คือ
ไภยนคลวานวาง เนื่องหน้า คือ
ชะโรคะโลกลาง เนาแน่แลนา คือ
สตบทสุดท้ายข้า กล่าวแล้วจงจำ คือ
๏ ๏ อักษรปถมบาทเบื้อง ก บริสุทธ์
ทุติยบาทเมรุทธ์ ก่ รูบค้อม
ตะติยบาทอังกุษ ก้ ขอขอดจริงแฮ
ลักษณอักษรสามฃ้อน แต่งไว้เป ็นเฉลิม
๏ สศษญย ใครถวิล ่ ้ ๊ ๋ พินธ์ ชอบรู้
ใ ไ ใส่โดยจิน จงถ่อง คือว่าท่านนั้นผู้ ฉลาดแท้เมธา
๏ นักปราชณญนย สศษ กินบคัรนคมคาม เร่งไร้
เป ็นเสมียนหมู่ถามความ กินง่าย สแลนยนี้ใช้ ยิ่งค้าเมืองจีน
๏ สุนักชาใส ไตรมักชาษอร จรปรสัด สัศดิเวหา วาจาเลศ
วิเศศคุง อุชุงบภาพ เอลาภลักษณ์ อักษรสุนธร์ คณบท
พจนเอก วิเศศป ักษรี ๏ ต้น กลาง หลัง ไม้ผัด ลากข้าง
๑ ๒ ๓ ๔ ๕
พินหัว ตีน ุ ู ไม้เอ แไใโ นฤคหิต ๑๐ะ ๑๑่ ๑๒้ ๚ะ๛
๏ พระสดับ ประดิษถาน มรณ บาทสมพล ปภไส อิสิสมโยค
๑ ๒ ๓
อาการ หันอากาษ ประทุมวิหาร วิสันชนี เอกป ักษรี ป ักษรีอาไครย์
๏ ต้น กลาง หลัง ตีน ุ ู ไม้ เอ แ ไใโ พินหัว ลากข้าง ไม้ผัด
นฤคหิต ๑๐ะ ๑๑่ ๑๒้ ๚ ๚ะ๛
๏ เลข ๑ เป ็นตีนหนึ่ง เลข ๒ เป ็นตีนคู้ เลข ๓ ตัวหนึ่งเป ็นไม้เอ เลข๓๓
สองตัวเป ็นไม้แอ เลข ๔ เป ็นฝนทองบนพินหัว เลข ๕ เป ็นหันอากาษ
เลข ๖ เป ็นไม้ไอ้ เลข ๗ เป ็นพินหัว เลข ๘ เป ็นไม้โอ้ เลข ๙ เป ็นลากข้าง
ชื่อว่าอักษรเลข ๚ะ ๏ หนึ่งสองฉลองเบื้อง เบือนบัง
เอตรีสี่เซียหลัง เคลือบไค้ล ห้าผัดสัดตะพินผัง ผันผ่อน
นพพาอาหกไม้ ไอโอ้อักถอน ๏ ๐๐๐๐๐๐๖ ๐๐๐๐๔ ๐๐๐๐๐๐๐๐๘ อ่านอัก
ษรคู่ ๑๘ ๏ บ์างน้นนเบื้องนั้นเขียวขาว หมอกมัวดวงดาว
ตวันชรอ่ำชรอื้นลมฝน ฟ้าพื้นหลั่งหล่อโชรชรน อับแสงสุริยพล
คค้ฤนคึกคึกกเกรอกเวหา สองท้าวเทียบทศโธา บ่รู้กี่สา
ซ้ายขวาอเนกรองรับกัน ๚ ํ๐๐๐๐๐๐๐๗ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๐๖ ๑๘ ๚ะ๛
ฉันทบำดำเนินกลอน ๕ ๏ บัดนั้นอินทราธิบดี ใช้เทพสารถี ชื่อมาดลีลีลา
๏ เอารถม้าแมนลงมา ถวายสมเดจ์ราชา ธิราชกลางรณรงค์
๏ รถนี้รถอินทรบันต์ยงค์ ตัรสใช้ตูข้าลง มาถวายสมเดจ์ราชา
๏ ฉันทบำ ๑ ๘ ดำเนอรกลอน ๕ ๚ะ๛
๏ เคยพาตพระหัษฐเมื้อ อุรราชกัลยา กอดเกิ้ยวคือกาญจนลดา
อันโอบอ้อมทุมามาลย์ ๏ พิดภักดรมลทลศศี บริศุทธิเปรียบบ์าน
เปรมร่วมมฤธูรสูรบันดาล รดิดัศบันเจอดใจ วิเชียรดิลกฉันท์ กลอน๖
ราคสํเดจ์ ฯ ๐๐๐๐๐๐๐๐๘ ๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๐๖ ๚ะ๛
๏ อุระประทับอรถนงง บรามัศสิวรไวย จุมพิตรริมไร โอษฐคันฐกัลยา
๏ ปริสงงคุติพระอุรุองค ์ อนุชพนิดา สมสนุกนิเสนหา รศราคเอมอร
๏๒๔ คิลกวีเชียรฉันท์ กลอน ๖ ๚ ๚ะ๛
๏ ๐๐๐๐๐๐๖ ๐๐๐๐๐๐๖ ๐๐๐๐๐๐๐๐๘ ๐๐๐๐๐๐๖ ะ
วงรังษีปรไพ บูรโชติพรายพรรณ เสดาญเจนิลรัตนสรรพ์ บริโคบิ์ลงโค
หรคัณหบิ์งคำ การ์โลโลบิ์ดโด สหัษรโตโพอรุณโณ ภาศรัดรัศมี ะ
โคตกดิลกฉันท์ ๒๖ กลอน ๖ ๚ ๐
๏ ข้าปรนดบังคมบทมหรรค์ ไภยทุกขโรคสรรพ อุบาทวอย่ามี ะ
วรเดชสรรเพชพุทธมุนี ศุคสวัสดิอันมี ศุขสมบัดดิบน ะ
๏ ขอจงสำฤทธ์อิษฎิศราผล ศุขเสวอยทิพดล บทโมกษนฤพาน ะ
๏ ๏ ๒๒ กลอน ๖ ๚ะ๛
ฯ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๕
๏ แต่อาทิยังมี ราชธิบดี ธิบดินทรมหา กษัตราธิ์กชาติ ธิกไชยเชษฐา
ธรงนามสมยา พรหมทัตภูมี ๏ ท้าวนั้นเฉลียวฉลาด รู้ศีลประสาทร
ธนูศรศรี หมู่ขัติยพรรค์ กลัวเดชฤทธี ทั่วทั้งกษตรี เลื่องฦๅฤทธิไกร
ประทุมฉันทศัรนท์ กลอน ๕ ฯ ๓๕ อักษรแล ๚ะ๛
๏ ข้าขอปรนมบทบรมมารวิชยเจษฎา บวรบรมคถา คดบ์าฎิหารรังศรี
เสดานิลรัดตบริโดบิ์ลังครัศมิ บริทสัญชนรูลี จรัสวรชติชัชวาลย์
๏ สกลรตนฉันทรกค ๓๐ อักษร ๚ะ๛
๏ มนทกคติโคลงห้า ๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕ ๚ะ
๏ น้ำจะคล้ายคลาดิน ม้าดำน้ำลงดาล จัดจากริลรักมา จนอนนานสั่งชู้
๏ ปลาดีนี้กินดี ไปกลางน้ำผ์ากน้ำ นกจีนี้จิวจี ไว้กับเข้าแก่เข้า
กานทมกรคติสังขลิ
๏ กาบใจว่าต้นทอง พายผืนแผ่นแดงส้า อย่าปองผีเมือเลือม
รบศึกข้าบาดบื์น ๏ หย่างโคลงแช่งน้ำพรพรรท ๚ะ๛
๏ สิหคดิจคำกานแล ฯ นาคบริพันธฉันท ์ ๚ะ๛
๏ อคาอคาศเกื้อ กลเกียว เรียมใฝ่กลืนเผือเกลียว สวาคไว้
ธรงกายอกใจเฉลียว เฉลาแม่ ยังบ์านี้น้องไท้ เลอศแล้เล็งสัรบ
๏ แม่ยืนอยู่คือยล ชายวาง สไบรแทรองบาง แย่เค้ลา
เป ็ลวเอ็วอรองค์ราง แนวนิภิศแม่ ไตรโลกยนี้น้องเหน้า หน่อท้าวเป ็นจอ
๏ พยัฆฉันทลันโลง ฯ ทรนุก ใด้ต้องบาท บัวจันท ์ พรลำ
เมอไปพัน พาดเหน้า ทระนง ว่าจอมขวัน รักษพี่ณะแม่
ทรลัด ใด้ต้องเจ้า โทษน้นนเรียมฃอ ๚ะ๛
๏ มฤคาฉันท์สังวาศ บทฉันทไว้แท้ทำบุก กลอนลิลิด ๚ะ๛
๏ มือซ้ายพระเจ้ายอ มุษทึงค จับแทนเทียรยงยิง เสี่ยเริ้ย
มือขวาพระเจ้าจับ มุรพาศ สามแผ่นพระเจ้าเงี้ย บำบวง
๏ ภุมราฉันท์นิราศ รัตนมาลาฉันท์ไว้แก้ทำนุกลิลิตพากย์ ๚ะ๛
๏ พี่ก็อยิบกล้ำขึ้น จกิน ชลเนตรไหลลามริน บ่เอื้อน
ตายสยบขาดใจหิน หายสวาดิรักษเฮอย เรียมลำฦกน้องเยื้อน
ค่อยค้อยคืนมา ฯ ฉันท์จักรไว้แก้โคลงจักรปรทวน มณีรัตน
ฉันท์ไว้แก้ราฅสมเดจ์สำราคณา ฯ นางน้องเย้อยงเข้า มีผล
รวงแร่งสุกงามโอน อ่อนน้อม ยาถกถเกองกล เข้าลีบ
ฉันใดจเยื้อนค้อม ทานรวง ๏ รักษผัวเสมอชิพน้อง นงพะงา
เราเฉํกเพียงดวงตา ชื่นม้วย ตนชายคือพฤกษา ลำมาศ
เปนพำนักนิ์ขัวนส้รอย อาไศรย ๏ ส่วนลำวิลาศไม้ งามผจง
ดวงเก่าโรยไปผวง ไหม่เค้า เฉกหญีงบตรงคง ผัวหญ่า
เมียหนึ่งไปแสวงเหน้า หนุ่มแทน ๏ ฉันทลันโลง กลอนต้น
๏ ไทท้าวนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีหพีกัลว ไพร่ฟ้า
พลเมืองบดูดี ดาลเคียด คระเหลียบลับลี้หน้า อยู่ส้างแสวงบุญ
๏ เมื่อนั้นสองไท้ราช ดาบศ สาพี่มดไปมา กล่าวแกล้ว
ททานราชเอารส สองภช เวนแก่ชูชกแล้ว จึ่งไท้ชมธรรม
๏ อรองค์นงคนารถแพ้รว พรายสาย ภักตรลักษณพรรณภยกาย
คอ่งคิ้ว จงกลอุบลปราย รายรอบ สัดครัดนคิ้วนิ้ว ฟ่ายฟ้อนรบำจำ
๏ บริสุทธ์นุชเทพฤ้ๅ ธรจร องคผจงบวรอร ออ่นอ้อย
ตาตูรธนูศร สมรมิ่งภูเอย สัตตรัดส้รอยซ้อย โชติแก้วเสนหา
๏๔ เนตร คมสมลักษณเนื้อ นิล เนตร์ น้อง จรวรวรเชก เหนี่ยว
ส่อง ศรห่อนทูกเภท เรียม ส่อง มา สบจบจวบห้อง ต่อท้าววัน
๏ ฝนตกนกร้องร่ำ ครวญคราง ครางครวญถิ่นนวลนาง โศกเศ้รา
เศ้ราโศกร่ำแต่บ์าง ไปจาก จากไปเรียมไฉนเจ้า พี่เพี้ยงตรอมตาย
แก้วแหวนน้องเกื้อพี่ ทุกอัน ชูต่อของน้องพรรณ แต่เจ้า
กองทองต่อสบสรรพ์ เศกแม่ เงินเลื่อนหลังช้างเต้า แต่งขึ้นเรือนเรียม
๏๓ ทวา นาไปบี์กมีฉันเหอนเหตุ ทวา ทศ การทวาท้องยิ่งเรืองรถสนุก ทศ
หง มัญราท้องเทพยทิพย์ หง ษา เพื์องพ์ากสวรรคลองเทียม ษา
๏๑ ใส่ใจใค่รใก้ลใช่ ใจไกล ใจใค่รไปใชไหม ไป่ได้
ใจใจใค่รไปไช ใจใฝ่ไป ส้รอย ใจใครไปใจ้ใจ้ ไปได้ไปไช
๏๒ เนือง ๆ ณเมืองโน้น ไพ ๆ หลาก ๆ หลายใคร ๆ เทศเต้า
เสียง ๆ บไคล ๆ จีม ๆ น้อง ๆ ไปเจ้า ๆ จุงถ้วงถาม ๆ
๏๕ กิน กล้วยกินเบือแล้ว ยัง กิน เข้า คิดฤควรยิน ยิ่ง เข้า
เข้า ไปเพื่อนวอนวิน คู่เข้า นอน ที่ได้ใดเข้า สุดคุ้นเคยนอน
๏๗ เชิญนุชภุชพ่าหท้าว กุมภันฑ์ ทรงเครื่องเรืองรองพรรณ เปล่งปล้อง
ฤทธาผ่าผลาญสรรพ์ ภูวโลกย ์ ขับขี่กรีรถร้อง เร่งรี้พลพฤนธ์
๏๖ พี่ กำพ้ราหน้าต่ำ ออมอด น้อง เป ็นดีมียศ ก่อเกื้อ
ซ้อง ฦๅชาปรากฎ โฉมแม่เดียวแม่ แซม ซุ่มซนดนเมื้อ บ่ให้
เห็นองค์ ๏๘ เที่ยงคืน คุงด้าวต่อ แขไข เดือนดับ กับสายใจ อยู่เหล้น
บ์าชัฎ สงัดไพร ใครเพื่อน ฝนตกนกร้องเร้น อยู่ด้วยสายสมร
๏๙ ลางวันพันท้าวให้ ปรทาน แขกบ้านค้านเมืองกราน กราบเกล้า
ยินลาบบดีสาร สนองตอนคืนมา ชมชื่นหืนรหรรษ์เจ้า แจ่มหน้ายินดี
๏๑๐ หนีเสือเสียเสื่อเสื้อ เพราะเสือ โอ้อาตมาหนีเสือเสีย เสื่อเสื้อ
หนีศึกมาพะเสือ คืนเล่า เสียเสื่อเสียทังเสื้อ ห่มเสื้อหนีเสือ
๏๑๑ ไปเห็นน้ำ ถ้าก่อน ชวนกัน ด่วนคัดบอก ปูนปัน ส่วนได้
ไปเห็นรอก มาขัน มือแม่น ก่งน่าไม้ ไว้ให้ อย่อนแท้เสียสาย
๏๑๒ วัด วรนิเวศเรื้อ รัง เสือ ไป ตัดวัดหวายเหลือ ค่า คู้
บาง บึงรกแฝกแผื์อ เป ็น บ่์า หา แห่งตำแหน่งรู้ เรียคท้องนายาง
ชื่อเฉียงกุมกาม ๚ะ๛
๏ ครางครวญพี่เศ้รา เจ้าเคยหาพี่
ร้อนพี่นางไกล มาคค้อยเหลียว
อยู่แคลงคลางยงง ดาแลสั่งสุด
โลมใคร่พู้นอยู่อ้อน หน้าเอนดูน้องน้อยนั่ง
๏ กาลีไปลี่แล้วมา เห็นแต่ฟ ันขาวศรี
แล่นไปเห็นเขาตีตา ผแล่นมาหู้หี้ ญี่เขียวตา
๏ โกปรจงมาแต่งค้งฉม ภิพาดพายเหนือหแต่งแต้ม
เกวีร่วมเรียงตบร่วม เกกอนกี้วายแย้ม เสียงล้างลอลุน
หิว คิด นัก คิด เอโบมในไป
เจ ้า มี บ่อ คิด ยามวันเว้นบ่อชู้
หาก หวด นัก คิด ไว้ในแล้ว
ใคร ถึง ควบ คิด รู้ร่วมใด
อินทเกี้ยวเกล้า
โคลงลาวทรง
บ่อ นี้ ดั่งเรียมจง ปลด คำ
ข่อ เทียม องคชาติหน้า ชั้น ขอ
ชาต ลุ ปลงเจียรจากฉันนี้ รัก ไปล ่
กัป เกอด ฟ้ารามห้อมพิมานเดียว เกอด ใน
อินหลงห้อง
โคลงลาวทรง
หน้าสี่
รวมอรรถธิรางค์เบื้อง บรรพ์สนองไว้พ่อ กลกาพย์กลกานท์สรรพ์
สุภสร้อย กลฉันทาลโคลงฉลอง เฉลิมโอษฐ์อ่านแฮ เล่สุมาลย์ร้อยสร้อย
หน้าห้า
เรากินแตงโม ลูกไอ้กระโต ฉะเพาะเจาะนาน ธค่อยอยู่ไย
กูจะใคร่คราญ ไม่ระ ภาน ฉิฉะสงสาร แนะให้แกาะชาย ๓๒
ธรงสำรับจำคณะทัง ๘ โคลงสำรับจำคณะทัง ๘ ธรงทังสองบทโคลง
มะนะครุอุล้วน ดับกัน คือ
หน้าหก
ภะยะครุอุสัน เสกหน้า คือ
ชะระครุอุพันธ์ เนาพำ่กลางนา คือ
สะตะครุอุอ้า อ่าไว้หนหลัง คือ
แสดงมนดลเล่หล้วน รยางค์ คือ
หน้าสิบเอ็ด
วิเศศคุง อุชุงบภาพ เอลาภลักษณ์ อักษรสุนธร์ คณบท
พจนเอก วิเศศป ักษรี ต้น กลาง หลัง ไม้ผัด ลากข้าง
๑ ๒ ๓ ๔ ๕
พินหัว ตีน ุ ู ไม้เอ แไใโ นฤคหิต ๑๐ะ ๑๑่ ๑๒้ ะ
พระสดับ ประดิษถาน มรณ บาทสมพล ปภไส อิสิสมโยค
๑ ๒ ๓
หน้าสิบสี่
นพพาอาหกไม้ไอโอ้อักถอน ๐๐๐๐๐๐๖ ๐๐๐๐๔ ๐๐๐๐๐๐๐๐๘ อ่านอัก
ษรคู่ ๑๘ ข้างบนเบื้องนั้นเขียวขาว หมอกมัวดวงดาว
ตวันชรอำ่ชรอื้นลมฝน ฟ้าพื้นหลั่งหล่อโชรชรน อับแสงสุริยพล
คค้ฤนคึกคึกกเกรอกเวหา สองท้าวเทียบทศโธา บ่รู้กี่สา
หน้าสิบห้า
ซ้ายขวาอเนกรองรับกัน ๚ ํ๐๐๐๐๐๐๐๗ ๐๐๐๐๐๕ ๐๐๐๐๐๐๖ ๑๘ ๚ะ๛
ฉันทบำดำเนินกลอน ๕ ๏ บัดนั้นอินทราธิบดี ใช้เทพสารถี ชื่อมาดลีลีลา
๏ เอารถม้าแมนลงมา ถวายสมเดจ์ราชา ธิราชกลางรณรงค์
๏ รถนี้รถอินทรบันต์ยงค์ ตัรสใช้ตูข้าลง มาถวายสมเดจ์ราชา
หน้ายี่สิบเอ็ด
ประทุมฉันทศัรนท์ กลอน ๕ ฯ ๓๕ อักษรแล ๚ะ๛
๚ ๐๐๐๐ ๐๐๐๐ ๐๐๐๐๐๐ ๏ กูเห็นคนเถ้า แก่ถือไม้เท้า
ซรซรุดซรเซรบัดสี เห็นทังคนไข้ อุบัดดิโรคราวี เห็นคนแบกผี ไต่เต้าเดิน
โดยรัถยา ๏ กูเห็นกูคิด ตัวกูบผิด บ่แผกแก่กายอาตมา แห่งกูคิด
หน้ายี่สิบสาม
๏ สกลรตนฉันทรกค ๓๐ อักษร ๚ะ๛
๏ มนทกคติโคลงห้า ๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕๐๐๐๐๐๕ ๚ะ
๏ น้ำจะคล้ายคลาดิน ม้าดำน้ำลงดาล จัดจากริลรักมา จนอนนานสั่งชู้
๏ ปลาดีนี้กินดี ไปกลางน้ำผ์ากน้ำ นกจีนี้จิวจี ไว้กับเข้าแก่เข้า
หน้าสี่สิบเอ็ด
๏ กาลีไปลี่แล้วมา เห็นแต่ฟ ันขาวศรี
แล่นไปเห็นเขาตีตา ผแล่นมาหู้หี้ ญี่เขียวตา
๏โกปรจงมาแต่งค้งฉม ภิพาดพายเหนือหแต่งแต้ม
เกวีร่วมเรียงตบร่วม เกกอนกี้วายแย้ม เสียงล้างลอลุน
บรรณานุกรมจินดามณี
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
กรมศิลปากร.(๒๕๑๔) จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณี และ จินดามณี ฉบับสมเด็จพรเจ้าบรม
โกศ. กรุงเทพฯ : รุ่งวัฒนา.
สมุดไทยดำ หมู่อักษรศาสตร์. จินดามนี. เล่มที่ ๑/ง ๒ ซื้อ พ.ศ. ๒๔๕๒.
ดัชนีคำศัพท์จินดามณี
ทศพล
: ผู้มีกำลัง
เพ
: พังทลาย
ญาณ
: ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ
โมลี
: จอม, ยอด, ผมจุก
นพ
: เก้า
อัษฎ
: แปด
ผเดจ
: ตัด,ขจัด
รัชนีกร
: พระจันทร
กรรณ
: ใบหู
ผกา
: ดอกไม้
มหิศร
: ผู้ยิ่งใหญ่
อรรถ
: เนื้อความ
สุภ
: ความงาม, ความดี, ความเจริญ
โสรด
: อาบ, สรง, ชำระ, ทำให้สะอาด
ธรง
: เลิก
ยล
: มองดู
รยางค์
:ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหลัก
อังกุษ
: ขอเหล็กอย่างขอสับช้าง
เฉลิม
: ยกย่อง
อุร
: อก
มาลย์
: ดอกไม้
รัตน
: แก้ว คน สัตว์ หรือ สิ่งมีค่า
สรรพ์
: ทุกสิ่งทั้งปวง
อุบาท
: ไม่ดี
นฤพาน
: ความดับกิเลส และกองทุกข์
ชัชวาล
: โชติช่วง , รุ่งโรจน์
ไตรโลก
: สามโลก
มฤคา
: สัตว์ป่ามีเขา
สังวาส
: การอยู่ด้วยกัน
ทำนุ
: บำรุง
พำนัก
: ที่พัก
หญ่า
: หย่า , เลิก
ผจง
: ความตั้งใจ
บวร
: ประเสริฐ , ล้ำเลิศ
เต้า
: ไป
ชัฎ
: รก
สงัด
: เงียบ
พะ
: ปะ
เมธา
: ปัญญา, ความรู้, ความฉลาดรอบคอบ.
นักปราชญ์
: ผู้รู้, ผู้มีปัญญา.
วิเศษ
: ยอดเยี่ยม, เลิศลอย
สุนทร
: งาม , ดี
ปักษี
: สัตว์มีปีก คือ นก
คณ
: หมู่ หรือ พวก
สดับ
: ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง สดับตรับฟัง
สมพล
: เลกของขุนนางที่คุมหัวเมือง
ไส
: เสือกไป ผลักไป ส่งไป รุนไป ดันไป
อิสิ
: ผู้แสวงคุณความดี , ฤษี , ผู้ถือบวช
โยค
: ความเพียร
ถ่อง
: งาม ,อร่าม , แจ่มแจ้ง ,รุ่งเรือง ,ชัด,แน่แท้ , จะแจ้ง
เสมียน
: เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ
ถวิล
: คิดถึง
อาศัย
: พักพิง , พักผ่อน
ชื้น
: มีไอน้ำซึมซาบอยู่ ,ไม่แห้งทีเดียว
สุริยพล
: กำลังแสงพระอาทิตย์
เกริก
: กึกก้อง , ดังสนั่น , เลื่องลือ
อเนก
: มาก , หลาย
สารถี
: คนขับรถ , คนบังคับม้า
สมเด็จ
: คำยกย่อง หมายความว่ายิ่งใหญ่ หรือประเสริฐ
ดำเนิน
: เดินไป
กาญจนลดา
: เถาทอง
บรรเจิด
: สูงเด่น , เฉิดฉาย
อุระ
: อก
พนิดา
: วนิดา , หญิง , หญิงสาว
กษัตรี
: กษัตริย์ผู้หญิง
ขัตติย
: พระเจ้าแผ่นดิน
พรรค
: หมู่คนที่รวมเข้าเป็นพวก เป็นฝ่าย
ประนม
: ยกมือขึ้นกระพุ่ม
ดาล
: พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
กาน
: ตัดเพื่อให้แตกใหม่
เฉลา
: สวย , งาม , เกลี้ยงเกลา
สังวาส
: การอยู่ด้วยกัน , การอยู่ร่วมกัน
เอื้อน
: เรียก , เรียกร้อง , กล่าวถ้อยคำ
อาศัย
: พักพิง , พักผ่อน
วิลาส
: งามมีเสน่ห์
ผจง
: ตั้งใจทำ
ผัวหย่า
: เลิกรากับผู้เป็นสามี
ดาบส
: ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
สมร
: นางงามซึ่งเป็นที่รัก
ภู
: ดิน แผ่นดิน
เบื่อ
: รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร
ครวญ
: ร้องรำพัน
กาลี
: ความชั่วร้าย , เสนียดจัญไร
ดัชนีคำศัพท์หนังสือจินดามณี
ก
– กรรณ
– กษัตรี
– กาญจนลดา
– กาน
– กาลี
– เกริก
ข
– ขัตติย
ฃ
ค
– ครวญ
– คณ
ฅ
ฆ
ง
จ
ฉ
– เฉลา
– เฉลิม
ช
– ชื้น
– ชัชวาล
– ชัฎ
ซ
ฌ
ญ
– ญาณ
ฎ
ฏ
ฐ
ฑ
ฒ
ณ
ด
– ดำเนิน
– ดาล
– ดาบส
ต
– เต้า
– ไตรโลก
ถ
– ถวิล
– ถ่อง
ท
– ทศพล
– ทำนุ
ธ
– ธรง
น
– นฤพาน
– นพ
– นักปราชญ์
บ
– บรรเจิด
– บวร
– เบื่อ
ป
– ประนม
– ปักษี
ผ
– ผกา
– ผจง
– ผเดจ
– ผัวหย่า
ฝ
พ
– พรรค
– พนิดา
– พะ
– พำนัก
– เพ
ฟ
ภ
– ภู
ม
– มฤคา
– มหิศร
– มาลย์
– เมธา
– โมลี
ย
– ยล
– โยค
ร
– รยางค์
– รัชนีกร
– รัตน
ล
ว
– วิเศษ
– วิลาศ
ศ
ส
– สมพล
– สมร
– สมเด็จ
– สรรพ์
– สงัด
– สดับ
– สารถี
– สุนทร
– สุริยพล
– สุภ
– สังวาส
– เสมียน
– โสรด
– ไส
ษ
ห
– หญ่า
ฬ
อ
– อรรถ
– อาศัย
– อเนก
– อิสิ
– อังกุษ
– อัษฎ
– อุบาท
– อุร
– อุระ
– เอื้อน
ฮ
Facebook Comments