บทบาทของตัวรับ CB1

บทบาทของตัวรับ CB1 กับสุขภาพของหลอดเลือด

บทบาทของตัวรับ CB1 กับสุขภาพของหลอดเลือด

บทบาทของตัวรับ CB1 กับสุขภาพของหลอดเลือด

ปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และตัวรับ เช่น CB1 และ CB2 ก็สามารถแยกบทบาทหน้าที่ของพวกมันออกมาได้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งบทบาทหน้าที่ของพวกมันก็แตกต่างกันกันไปตามอวัยวะที่พวกมันอยู่ เช่น ถ้าตัวรับเหล่านี้อยู่ที่ตับ ก็จะออกฤทธิ์ไปแบบหนึ่ง ส่วนถ้าอยู่ที่เส้นเลือดก็จะมีผลต่อร่างกายไปอีกแบบหนึ่ง เป็นต้น

สำหรับบทบาทหน้าที่ของตัวรับ CB1 ในหลอดเลือดหรือเส้นเลือด ก็จะมีความแตกต่างจากบทบาทและหน้าที่ของตัว CB2 เช่นกัน

ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาเราพบว่า การยับยั้งการออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ CB1 หรือ ยับยั้งตัวรับ CB1 จะให้ผลที่ดีต่อเส้นเลือด เช่น

ทำให้สารที่ก่อให้เกิดการอักเสบลดลง เพราะสารเหล่านี้ลดลง ก็เท่ากับโอกาสของการอักเสบของหลอดเลือดลดลง ซึ่งก็อาจหมายถึง ลดการเกิดเส้นเลือดตีบ แตก ตันได้

ทำให้ตับมีการสร้างไขมันหรือน้ำตาลน้อยลง เพิ่มการสร้างไขมันดี หรือที่เรียกว่า HDL ลดการดื้อต่ออินซูลิน

ลดการกระตุ้นให้มีผนังของเส้นเลือดหนาตัวขึ้นมา ซึ่งก็หมายถึง จะทำให้เส้นเลือดตีบได้ เป็นต้น

นั่นหมายความว่า ถ้าเราใช้สารแคนนาบินอยด์ ซึ่งจะมาจากสั่งเคราะห์ หรือ สกัดจากกัญชา กัญชง ก็ตาม ถ้ามันออกฤทธิ์แบบกระตุ้น CB1 ก็อาจจะให้ผลตรงข้าม นั่นหมายถึง ความเสี่ยงที่เส้นเลือดจะเสียหายมากขึ้น

ที่นี้ ถ้าเราจะเลือกว่า ถ้าคนมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดอยู่แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องใช้สารจากกัญชา หรือ กัญชง ควรจะโฟกัสแบบไหน

ถ้าตามข้อมูล แน่นอน สาร THC ออกฤทธิ์แบบกระตุ้นตัวรับ CB1 ก็อาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้

แต่สาร CBD มีการพบว่า มันมีคุณสมบัติไปทางต้านหรือยับยั้งตัวรับ CB1 ก็อาจจะเหมาะสมกว่า

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าใช้แบบสารสกัดรวมละจะดีไหม

ซึ่งจากข้อมูลที่ผมมี พบว่า ดีกว่าแน่นอน แต่ไม่ควรใช้แบบ THC เด่นมากจนเกินไป เพราะฤทธิ์รวมของมันอาจจะกลายเป็นการกระตุ้น CB1 เพราะมีสาร THC มากกว่า

ซึ่งจากข้อมูลที่ผมเขียนมา ผมกำลังย้ำให้ทุกท่านทราบว่า ทำไมเราต้องรู้จักการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ รู้จักบทบาทของตัวรับแต่ละตัว เพราะสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นในร่างกายเราอยู่แล้ว แม้ขณะที่ผมพิมพ์หรือท่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่

ถ้าเราเข้าใจ เราก็จะสามารถนำไปประยุกต์หรือเป็นแนวทางเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพ หรือ เลือกสูตรสารสกัดกัญชามาดูแลตัวเองได้ โดยเฉพาะถ้าในบทความนี้ ผุ้ที่มีความเสี่ยงที่เส้นเลือดสึกหร่อหรือตีบ แตก ตัน ก็พอจะรู้ว่า ถ้าจำเป็นจริงๆ จะเลือกสารสกัดกัญชาแบบไหน

ประโยชน์ของสารไฟโตแคนนาบินอยด์มีมากมาย จนบริษัทยายักษ์ใหญ่ก้นร้อน แต่ถ้าใช้ผิดแค่นิดเดียว ชีวิตก็เปลี่ยนได้เช่นกัน ฉะนั้น ผมจึงอยากให้ทุกท่านให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยครับ มากกว่า ไปท่องจำแค่ว่า ใช้น้ำมันอะไรในสูตร ซึ่งผมมองว่า มันแค่เรื่องน้ำจิ้ม ไม่ใช่สาระสำคัญมากเท่าไร

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Endocannabinoids acting at cannabinoid-1 receptors
regulate cardiovascular function in hypertension. Circulation 2004;110:1996–2002.

Endocannabinoid activation at hepatic CB1 receptors
stimulates fatty acid synthesis and contributes to diet-induced obesity. J Clin Invest 2005;115:1298–
1305.

Cannabinoid receptors as therapeutic targets. Annu Rev Pharmacol Toxicol 2006;46:101–
122.

Hemodynamic effects of cannabinoids: coronary and cerebral vasodilation mediated by cannabinoid CB(1) receptors. Eur J Pharmacol 2001;423:203–210.

SHARE NOW

Facebook Comments