ประสบการณ์การใช้ ตามแนวธรรมชาติบำบัด (โดยหมอเขียว)

ประสบการณ์การใช้ ตามแนวธรรมชาติบำบัด (โดยหมอเขียว)

ประสบการณ์การใช้ ตามแนวธรรมชาติบำบัด (โดยหมอเขียว)

ประสบการณ์การใช้ ตามแนวธรรมชาติบำบัด (โดยหมอเขียว)
จากประสบการณ์ที่กระผมได้ใช้ใบย่านางกับผู้ป่วยพบว่า ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
กระผมพบว่า ใบย่านางเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกัน คุ้มครองรักษา และฟื้นฟูลเซลล์ร่างกายของคนในยุคนี้ เพราะคนส่วนใหญ่จะมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่มีความเครียดสูง มักถูกบีบคั้น กดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ให้ต้องแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ เร่งร้อน สิ่งแวดล้อมก็มีมลพิษมากขึ้น ต้นไม้ที่ให้ออกซิเจน ร่มเย็น ให้ความชุ่มชื่นก็ถูกทำลายจนเหลือน้อย โลกจึงร้อนขึ้น อาหารและเครื่องดื่มปนเปื้อนสารพิษสารเคมีมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นผลิตทางการเกษตร ที่ใช้สารเคมีกันอย่างมากมายจนถึงการปรุงเป็นอาหาร ผู้คนอยู่กับเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยหลัก ที่ทำให้คนเจ็บป่วยด้วยภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
สถานการณ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับเมื่อ 30-50 ปีที่ผ่านมา ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเครียด วิถีชีวิตเรียบง่าย สงบ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขันไม่ต้องเร่งร้อนรีบเหมือนคนยุคนี้ สิ่งแวดล้อมมีมลพิษน้อย ป่าไม้มีมาก แม่น้ำลำธารใสสะอาด อาหารการกินไม่มีสารเคมีเจือปน ตั้งแต่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จนถึงกระบวนการปรุงอาหารก็ไร้สารพิษ ปรุงแต่น้อย รสไม่จัดจ้าน เครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ค่อยมี ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จึงมักมีภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุบแบบร้อนเกิน ซึ่งสามารถใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาได้ มีดังต่อไปนี้
ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา
มีสิว ฝ้า
มีตุ่มแผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตก ใต้ผิวหนัง มีรอยจ้ำเขียวคล้ำ
ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝึหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย
ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
ท้องผูก อุจจาระแข็ง หรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมาก ๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2 (คนร่างกายปกติ สมดุล จะไม่ตื่น ปัสสาวะกลางดึก)
ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการ ท้องอืดร่วมด้วย
มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
เป็นเริม งูสวัด
หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ
โดยสารรถยนต์มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
เลือดกำเดาออก
มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ ๆ
เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบบวดแดงที่โคนแล็บ
หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่อยอยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมาก ๆ จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า รองช้ำ ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต
เกร็ง ชัก
โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง เนื้องอก มะเร็ง พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-300 ซี.ซี.)
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำ หรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง) แล้วกรองผ่าน กระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร ตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควารดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุกลิ่นที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลักฯลฯ
หมายเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักสด ร่างกายก็จะขาดวิตามิน และคลอโรฟิล ในใบย่านางมีวิตามิน คลอโรฟิลคุณภาพดี มีพลังสด พลังชีวิตประสิทธิภาพสูง ในการปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม หลายครั้งที่การดื่มสมุนไพรเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ก็ควรจะทำอย่างอื่นเสริมในการปรับสมดุลร้อนหรือเย็นของร่างกายด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพดียิ่งขึ้น เช่น การปรับสมดุลด้านอิทธิบาท อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อากาศ เอนกาย และเอาพิษออก ซึ่งรายละเอียดของการปรับสมดุลร้อน-เย็น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือถอดรหัสสุขภาพ ร้อน-เย็น ไม่สมดุล โดยใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)

SHARE NOW

Facebook Comments