ผักชี บำรุงและรักษาสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะ

ผักชี บำรุงและรักษาสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะ

ผักชี บำรุงและรักษาสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะ

ผักชี บำรุงและรักษาสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะ

ผักชี มีกลิ่นหอม รูปใบเป็นหยักสวยงาม คนทั่วไปคิดว่าเป็นแค่ผักตกแต่งอาหาร ให้สวยงาม มีกลิ่นหอม แค่นั้น จนมีคำพังเพยว่า “ผักชีโรยหน้า” หมายถึง ทำดี = โรยผักชี ให้ดูสวยงามเข้าไว้ แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ไม่รู้ได้ หรือจะมีรสชาติดีไม่ดีก็ไม่ทราบ
แท้จริงแล้ว ผักชีอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ มากมาย อาทิ วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 เบต้าแคโรทีน ลูทีน และ ซีแซนทีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย และโปรตีน เป็นต้น กินใบผักชีมีคุณค่ามากมาย อาทิ บำรุงและรักษาสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ตับอักเสบ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะ
ประโยชน์ และสรรพคุณผักชี
– ใบ ก้าน ต้น ใช้ประกอบอาหารให้หอม และตกแต่งโรยหน้าให้ดูสีสันสวยงามน่ากิน
– ผล หรือ ลูกผักชี เป็นเครื่องเทศกลิ่นหอม
– รากผักชี นิยมนำมาทุบใส่แกงจืด หรือตำกับกระเทียม สำหรับผัดต่างๆ ให้กลิ่นหอม
สรรพคุณทางแพทย์แผนไทย มักใช้แบบทั้งต้น หรือ ผล
– เด็กเป็นผื่นแดง – ผู้เป็น ไฟลามทุ่ง ( Erysipelas ) หรืองูสวัด ใช้ผักชีทั้งต้น ตำพอก บริเวณที่เป็นแผล
– ใช้ทั้งต้นนำมาต้ม หรือคั้นแยกเอาเฉพาะน้ำ เก็บไว้ดื่ม มีสรรพคุณเป็นยาช่วยระบาย แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อ ขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ
– มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มผสมน้ำดื่ม
– ปากเจ็บ คอเจ็บ ปวดฟัน เอาผลมาต้มกับน้ำ ต้ม 5 ส่วน เคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ส่วน ใช้อมบ้วนปาก
– ผลแห้ง บดเป็นผง ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด
– รักษาโรคบิด ถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำให้ละเอียด ผสมน้ำตาลทราย กินแก้ได้
– เป็นริดสีดวงทวาร ให้นำผลไปคั่ว แล้วบดทาผสมกับเหล้า ทาวันละ 3-5 ครั้ง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา บอกว่า ผลแก่ เป็นเครื่องเทศ ที่มีกลิ่นหอม ใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อที่จะให้ขับสารพิษออกมามากขึ้น มีสรรพคุณขับน้ำดีได้ดี
ข้อควรระวัง :
อย่ากินผักชีมากเกินไป เพราะจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลายและลืมง่ายได้
ข้อมูลทั่วไปของผักชี
ชื่อสามัญ : Coriander
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L.
วงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แหล่งเพาะปลูกใหญ่ๆ ในไทยได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร ต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ อินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมาก
******* *******
ชีวอโรคยา แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อความพอเพียง เพื่อสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานไปต่อยอดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง ไม่ตอบคำถามเพิ่มเติม ไม่รับปรึกษาปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ประจำหน้าเพจ
เรียบเรียงโดย ชีวอโรคยา อ้างอิงข้อมูลจาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี rspg.or.th และ healthmee.com และ samunpri.com และ Wikipedia วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลราคาแพง ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
SHARE NOW

Facebook Comments