ผักบุ้งไทย มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา มีกากใย ป้องกันท้องผูก ลำไส้ ริดสีดวง

ผักบุ้งไทย มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา มีกากใย ป้องกันท้องผูก ลำไส้ ริดสีดวง

เรื่องนี้กล่าวถึงผักบุ้งไทยที่เรียกกันว่า “ผักบุ้งแดง” หรือ “ผักบุ้งนา” ที่นิยมกินกับส้มตำ ผักบุ้งชนิดนี้มีขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ริมน้ำ ไม่ใช่ผักบุ้งจีน ที่นำมาผัดไฟแดงนะคะ
ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
ใบ ก้าน : มีรสเย็นจืด สรรพคุณคือถอนพิษเบื่อเมา
ราก : มีรสจืดเฝื่อน มีสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง อาหารเป็นพิษ
ดอก : เฉพาะดอกตูมใช้รักษาโรคผิวหนัง อาทิ กลากเกลื้อน หรืออาจใช้ตำพอกรักษาโรคริดสีดวงทวาร
คุณค่าทางอาหาร
– มีสารอาหารหลายชนิด ที่เด่นที่สุดคือ มีวิตามินเอ มากถึง 11447 IU* ช่วยในการมองเห็น
IU ย่อจาก International Unit เป็นหน่วยสากลที่ใช้เฉพาะกับวิตามินเอ 1 IU เท่ากับ 0.3 ไมโครกรัม เรตินอล หรือ 0.6 ไมโครกรัมของเบต้าแคโรทีน
– มีเส้นใยหรือกากใยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่าย ทำให้ไม่เป็นท้องผูก ไม่เป็นโรคลำไส้ ริดสีดวง
– และอุดมไปด้วย แคลเซียม บำรุงกระดูกและฟัน ฟอสฟอรัส วิตามินบี2 วิตามินซี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทั่วไป : ผักบุ้ง , Woolly Morning-Glory (Morning-Glory เป็นดอกไม้ของต่างประเทศ รูปร่างเหมือนดอกผักบุ้งมาก)
ชื่ออื่นๆ : ผักทอดยอด ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forsk., I.reptans (Linn.) Poir
วงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะทั่วไป : ผักบุ้งเป็นพืชน้ำ และเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือดิน ที่ชื้นแฉะ
ต้น : มีเนื้ออ่อนลำต้นจะกลวงและมีปล้อง เป็นสีเขียว หรืออาจเป็นสีน้ำตาลแดง
ใบ : มีสีเขียวเข้ม เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมคล้ายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยวออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว 4-8 เซนติเมตร
ดอก : ลักษณะ ของดอกเป็นรูประฆัง มีสีขาว หรือม่วงอ่อน ด้านโคนดอกสีจะเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ในช่วงฤดูร้อนจะออกมากกว่าช่วงอื่น
SHARE NOW

Facebook Comments