จากภาพประกอบ ผมยกตัวอย่างตัวรับ GPR55 และ ตัวรับ GPR18 ซึ่งเป็นตัวรับที่สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองสามารถจับได้
และเป็นตัวรับที่สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง จับได้เช่นกัน
ในตัวรับ GPR 18 สาร THC จะมีบทบาทในการออกฤทธิ์แบบกระตุ้น หรือ Agonist ตามภาพ คือ เครื่องหมายถูกสีน้ำเงิน Agon ย่อมาจาก Agonist แต่สาร CBD จะออกฤทธิ์แบบ ยับยั้ง หรือ Antagonist ตามภาพ คือ เครื่องหมายถูกสีแดง
และสำหรับตัวรับ GPR 55 สาร THC จะมีบทบาทในการออกฤทธิ์แบบกระตุ้น หรือ Agonist ตามภาพ คือ เครื่องหมายถูกสีน้ำเงิน Agon ย่อมาจาก Agonist แต่สาร CBD จะออกฤทธิ์แบบ ยับยั้ง หรือ Antagonist ตามภาพ คือ เครื่องหมายถูกสีแดง
ซึ่งการออกฤทธิ์แบบนี้ ถือว่า เป็นคุณสมบัติที่พิเศษในสารไฟโตแคนนาบินอยด์เกือบร้อยชนิดที่อยู่ในกัญชง กัญชา เพื่อคานฤทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่มากเกินไปของกันและกัน
ซึ่งคุณสมบัติแบบนี้ จะไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบของอุตสาหกรรมยาเคมี เพราะมันยุ่งยาก ใช้ลำบาก วัดผลก็ไม่ง่ายเหมือนยาเคมี แต่ถ้าใช้เป็นมันจะดีกว่าระยะยาวแน่นอน
ฉะนั้น จากคำถามที่ว่า จะใช้สารใดสารหนึ่งเพียวๆดีไหม จากข้อมูลพื้นฐานของวิทยาศาตร์ ผมคิดว่า ไม่น่าจะดีแน่นอน ไม่งั้น เราก็จะใช้มันแบบยาเคมี ยิ่งใช้ ยิ่งสมดุลของร่างกายเสียหาย อาจรักษาโรคที่ป่วยได้ แต่จะได้โรคอีกหลายอย่างแถมมา
คำถามแบบนี้ผมก็เลยเปรียบเทียบไปว่า ก็เหมือนรถที่พี่ขับ พี่จะเลือกเอาคันเร่ง หรือ คันเบรก อย่างใดอย่างหนึ่งในรถ หรือ จะเลือกใช้ทั้งสองไว้ใช้ ในบริบทที่แตกต่างกัน
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
อ้างอิงบางส่วนจาก
A role for L-alpha-lysophosphatidylinositol and GPR55 in the modulation of migration, orientation and polarization of human breast cancer cells. Br. J. Pharmacol. 160, 762–771.
Anandamide exerts its antiproliferative actions on
cholangiocarcinoma by activation of the GPR55 receptor. Lab. Invest. 91,
1007–1017.
Identification of N-arachidonylglycine as the
endogenous ligand for orphan G-protein-coupled receptor GPR18. Biochem. Biophys. Res. Commun. 347, 827–832.
(9)-THC and N-arachidonoyl glycine regulate BV-2 microglial morphology and cytokine
release plasticity: implications for signaling at GPR18. Front. Pharmacol. 4:162.