ตำลึงผักพื้นบ้าน

ตำลึงผักพื้นบ้าน

ตำลึงผักพื้นบ้าน


ตำลึงผักพื้นบ้าน
ตำลึงดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้โรคเบาหวาน ดับพิษทั้งปวง
แกงจืดตำลึงหมูสับที่อยู่คู่ครัวไทย มากกว่าความอร่อย ตำลึงอุดมไปด้วยคุณประโยชน์หลากหลาย มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินบี 3 สูง เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งได้ อีกทั้งยังมีแคลเซียมสูงไม่ต่างจากนมวัว ดังนั้นหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายและกระดูกแข็งแรง
ใบตำลึงเพศผู้ ใบจะมีลักษณะหยักเว้ามากกว่าใบเพศเมีย ใบตำลึงเพศผู้ ไม่นิยมนำมารับประทาน และสำหรับท่านที่ธาตุไม่ดี หากรับประทานใบหรือยอดตำลึงเพศผู้เข้าไป จะทำให้ท้องเสียได้ครับ คือถ่ายไม่หยุด

รสและสรรพคุณยาไทย
รสเย็น ใบสด ตำคั้นน้ำ แก้พิษแมลงกัดต่อย ที่ทำให้ปวดแสบปวดร้อน และคัน
ดอกตำลึง สีขาวสวย แก้คันได้ ดอกตำลึงตอน เวลาโดนหมามุ้ย โรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น เอาตำลึงขยำขยี้ทาหายค่ะ ช่วยให้หายคันได้ดีจริง
ตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และ แพทย์แผนโบราณ ตำราอายุรเวทมีการใช้เป็นยารักษาหวานมานานนับพันปี ใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาเบาหวาน ได้ในทุกๆ ส่วนของมัน ทั้งราก เถา ใบ ด้วย
ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้
ตัวอย่างตำรับยาง่ายๆ 3 ตำรับดังนี้
ตำรับแรก นำรากตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากกุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ
ตำรับที่ 2 ข้อรากตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว 2-3 นิ้ว จำนวน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน 15-20 นาที กรองเอาแต่น้ำ นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย 7-10 วัน (หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันด้วยก็ได้)
ตำรับที่3 ยอดตำลึง 1 กำมือ (หรือเท่าที่กินแล้วอิ่ม) โรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลาเพื่อเพิ่มรสชาติสักเล็กน้อย ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุก รับประทานก่อนนอนจนอิ่ม ติดต่อกันประมาณ 3 เดือน
สรรพคุณของตำลึง
1) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
2) เป็นยาแก้แพ้ แก้คัน แก้อักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย ( เช่นยุงกัด, ถูกตัวบุ้ง ) หรือถูกพืชพิษ ( เช่นต้นตำแย หรือพืชพิษชนิดอื่น ) โดยใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทา หรือตำพอกบริเวณที่เป็น
3) ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง เนื่องจากมีเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยแป้ง ดังนั้น การรับประทานตำลึงเป็นอาหารจึงทำให้ไม่เกิด อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
4)ใบสด 1 กำมือ ( ใช้มากน้อย ตามบริเวณที่มีอาการ ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย
5)ใบแก่ ของตำลึงมีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อุดมไปด้วยสาร pectin ซึ่งหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านชาวตะวันออก ได้ใช้รักษาโรคเบาหวานแต่โบราณ
.6)ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ
วิธีใช้ นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับมดคันไฟ หรือใบตำแย)

7).แผลอักเสบ
วิธีใช้ ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

8)แก้งูสวัด เริม
วิธีใช้ ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วนพอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

9).แก้ตาช้ำตาแดง
วิธีใช้ ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้ว นำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

10)ทำให้ใบหน้าเต่งตึง
วิธีใช้ นำยอดตำลึง ½ ถ้วย น้ำผึ้งแท้ ½ ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้าทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
11)ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอกสีขาวมีลักษณะคล้ายระฆังปลายดอกแยกใช้แก้คัน
TEAY
https://www.facebook.com/profile.php?id=100007872633444

SHARE NOW

Facebook Comments