ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงต้องถูกตัดขาด้วย?

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงต้องถูกตัดขาด้วย?

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงต้องถูกตัดขาด้วย?

ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงต้องถูกตัดขาด้วย?

การตัดขาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นเพียงหนึ่งในผลเสียที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ไม่อาจดูแลหลอดเลือดให้มีความแข็งอยู่ได้ เพียงเพราะปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอยู่ตลอดเวลา

หลายท่านอาจจะมองแค่ปลายทางที่มักจะได้ยินว่า โรคเบาหวานทำให้ไตวาย ทำให้ตัดขา ทำให้ตาบอด ทำให้สมองเสื่อม ทำให้เกิดโรคหัวใจ และ ทำให้ชาตามปลายมือปลายเท้า เป็นต้น

เพราะนั่นเป็นเพียงสิ่งที่เราใช้เรียกกันเฉยๆ แต่ความสำคัญมันอยู่ที่อาการหรือโรคแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นที่เกิดจากโรคเบาหวานนั้น มันเริ่มต้นที่หลอดเลือดหรือเส้นเลือดนั้น ถูกทำลาย

ทำลายที่ขา ทำให้ถูกตัดขา

ทำลายที่ไต ไตวาย

ทำลายที่สมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ เสียชีวิต

ทำลายที่หัวใจ หัวใจวาย หัวใจขาดเลือด ตาย หรือ พิการ

ทำลายที่ดวงตา ตาบอด

การรักษาโรคเบาหวาน จึงไม่ใช่การโฟกัสเพียงจะทำอย่างไรให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคน ทั้งที่คุมน้ำตาลได้ และไม่ได้ ล้วนถูกน้ำตาล และ สารก่อพิษที่เกิดจากน้ำตาล ทำลายเส้นเลือดมาอย่างยาวนานแล้ว

การดูแลรักษาจึงต้องโฟกัส ไปที่การดูแลรักษาหลอดเลือดด้วย เพื่อทำให้หลอดเลือดลดความเสียหายจากน้ำตาล ทำให้ผนังของหลอดเลือดมีความแข้งแรง ยึดหยุ่นรองรับแรงบีบตัวของเส้นเลือดได้ดี นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังต้องทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว และ สารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือด ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

เพราะระบบภูมิคุ้มกัน และ เซลล์เม็ดเลือดขาว ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักทำงานไม่ค่อยดี และด้อยประสิทธิภาพ

จึงนำไปสู่ถ้ามีการเกิดบาดแผลเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเท้า แผลมักจะหายช้า และมีการติดเชื้อลุกลาม จนเกิดแผลเน่า และยากจะรักษาได้

ซึ่งส่วนหนึ่งมักจะจบลงด้วย การตัดขา เพื่อรักษาชีวิต

เพราะการติดเชื้อลุกลามในลักษณะนี้ ก็มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด และการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี ก็มักจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง นั่นเอง

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงต้องถูกตัดขา ซึ่งถ้าจะสรุปสั้นๆ ก็คือ

หลอดเลือดที่ขาถูกทำลาย และ ระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี แผลเลยเน่า และ หลอดเลือดที่ถูกทำลายตีบหรือตัน ทำให้เท้าหรือขาขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง และไม่มีศักยภาพในการลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดขาวมาสู้กับเชื้อโรคและสมานแผลที่เกิดขึ้นได้ นั่นเอง

สารแอนโทไซยานินและสารเรสเวราทรอล มีคุณสมบัติในการดูแลระบบหลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดการอักเสบในผนังของหลอดเลือด

ช่วยลดการเกิดโอกาสหลอดเลือด ตีบ แตก ตัน ซึ่งรวมทั้งหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณขาและเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ด้วย

จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดขาวไปช่วยดูแลรักษาเท้า หรือ แผลของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นบริเวณเท้าและขาได้

ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในเชิงป้องกัน ในกรณีที่ยังไม่มีบาดแผลเกิดขึ้น แต่เริ่มรุ้สึกมีอาการชาตามขาและเท้า เพราะเป็นสัญญานที่เริ่มมีหลอดเลือดและเซลล์ประสาทถูกทำลาย

และใช้ร่วมในการรักษาแผลของผู้ป่วยที่ขาหรือเท้าในผู้ป่วยได้ เพราะจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และ กระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคที่จะทำให้แผลเน่า

รวมทั้งช่วยลดการอักเสบของแผล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเรื้อรัง

สารแอนโทไซยานินและสารเรสเวราทรอล สามารถช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดโอกาสการถูกตัดขาหรือเท้าได้ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ไม่เรื้อรัง

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

SHARE NOW

Facebook Comments