ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

🥱ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

…มีคำถามจากผู้ใช้งานเฟสบุ๊คสมุนไพรอภัยภูเบศรว่าหากมีอาการนอนไม่หลับควรใช้สมุนไพรชนิดใด? โดยที่ท่านนี้ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ และมีอายุ 70 ปี
👵🏻👴🏻ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน การทำงานของสารสื่อสมองต่างๆ ลดลง และการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลถึงคุณภาพการนอน เช่น การใช้ยา การทำงานของระบบหายใจ โรคทางสมอง เป็นต้น
…ผู้ที่เริ่มมีภาวะนอนไม่หลับ แนะนำว่าควรปรับให้มีสุขอนามัยการนอนที่ดีก่อนอย่างง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน แอลกอฮอลล์ การสูบบุหรี่ เข้านอนหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีความเครียด ในช่วงเวลาใกล้นอน
💊ยาช่วยหลับ หรือยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepines มีประสิทธิภาพดีในการบรรเทาภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งจะถูกพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมของคนไข้ อย่างไรก็ตามหากใช้ในระยะยาวก็อาจทำให้คนไข้ติดการใช้ยาได้ บางตัวยาอาจมีผลข้างเคียงด้านการทรงตัวของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มอีกด้วย
👉🏻 ยาในกลุ่มเมลาโทนิน จึงเข้ามามีบทบาทในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากช่วยเพิ่มระดับเมลาโทนินที่ลดลงในผู้สูงอายุได้ ทำให้เกิดวงจรการนอนหลับที่สมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มคุณภาพการนอน คนไข้หลับได้ง่ายขึ้น ไม่มีอาการถอนยาเมื่อหยุดยา
…ปัจจุบันมี การสกัดน้ำมันรำข้าว ซึ่งมีฤทธิ์สำหรับลดไขมันในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคหัวใจ และพบเมลาโทนินในน้ำมันรำข้าวเช่นกัน มีการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า “รำข้าว”สามารถช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับได้ โดยพบว่า สารแกมมาโอไรซานอลในรำข้าว มีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพการนอน
ในผู้สูงอายุ มักจะพบภาวะนอนไม่หลับได้บ่อย สาเหตุจากทั้งร่างกายและจิตใจ การเลือกใช้ยาหรืออาหารเสริมจึงมีความสำคัญ รวมถึงการปฏิบัติตัว ดังนั้น การเพิ่มกิจกรรมตอนกลางวัน ฝึกการทำสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ ก็เป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้
🗞ข้อมูลจาก อภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนกันยายน 2561 คอลัมน์ พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์
SHARE NOW

Facebook Comments